การดำเนินคดีแพ่งของผู้เยาว์

?การดำเนินคดีแพ่งของผู้เยาว์

?อาจารย์เป้

ผู้เยาว์ หมายถึง บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เพราะยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือ ยังไม่ได้สมรสโดยได้รับอนุญาตจากศาล

ผู้เยาว์สามารถเป็นคู่ความในคดีแพ่งได้เช่นเดียวกับผู้ที่บรรลุนิติแล้ว กล่าวคือ ผู้เยาว์สามารถเป็นโจทก์และเป็นจำเลยในคดีแพ่งได้ แต่เนื่องจากผู้เยาว์ยังมีข้อบกพร่องในเรื่องอายุและประสบการณ์ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 56 จึงจำกัดสิทธิในการดำเนินคดีของผู้เยาว์ไว้?โดยกำหนดให้ทำได้ 2?รูปแบบ คือ

1. ผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องร้องดำเนินคดีแทนผู้เยาว์

?โจทก์เป็นผู้เยาว์มี นางสวย สีเหลือง เป็นมารดาชอบโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ มีอำนาจฟ้องร้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ได้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสูติบัตร เอกสารท้ายคำฟ้อง หมายเลข 1

?โจทก์เป็นผู้เยาว์มี นายหล่อ สีแดง เป็นบิดาชอบโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ มีอำนาจฟ้องร้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ได้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสูติบัตร และ ใบสำคัญการสมรสบิดามารดาโจทก์ เอกสารท้ายคำฟ้อง หมายเลข 1 และ 2

2. ผู้เยาว์ฟ้องร้องดำเนินคดีเองโดยได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

โจทก์เป็นผู้เยาว์มี นางสวย สีเหลือง เป็นมารดาชอบโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์และได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องร้องและดำเนินคดีนี้แล้ว รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสูติบัตรและหนังสือให้ความยินยอม เอกสารท้ายคำฟ้อง หมายเลข 1 และ 2

?โจทก์เป็นผู้เยาว์มี นายหล่อ สีแดง เป็นบิดาชอบโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์และได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องร้องและดำเนินคดีนี้แล้ว รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสูติบัตร ใบสำคัญการสมรสบิดามารดาโจทก์ และ หนังสือให้ความยินยอม เอกสารท้ายคำฟ้อง หมายเลข 1 ถึง 3

ส่วนกรณีเป็นจำเลย บุคคลซึ่งถูกโต้แย้งสิทธิสามารถฟ้องผู้เยาว์เป็นจำเลยได้เช่นกัน และ ไม่จำต้องบรรยายถึงบิดามารดาของผู้เยาว์แต่อย่างใด

**********************************************************

อ่านต่อ

การขอดูสมุดคำตอบตั๋วทนาย

อยากดู SmartLawTutor’s Channel คลิ้กที่นี่ !!!

เมื่อสภาทนายความประกาศผลสอบข้อเขียนแล้ว ผู้ที่สอบไม่ผ่านมีสิทธิขอดูสมุดคำตอบเพื่อดูข้อบกพร่องในการเขียนตอบข้อสอบของตนเองได้ ซึ่งมีวิธีการง่ายๆดังนี้

1.ให้เขียนคำร้องขอดูสมุดคำตอบที่สภาทนายความพร้อมนำบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวสอบไปแสดง

2.รอถึงกำหนดวันรับสมุดคำตอบ โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 7 วัน โดยผู้ยื่นคำร้องต้องขอรับสมุดคำตอบภายใน 30 วันนับแต่วันครบกำหนด

3.เมื่อถึงกำหนดแล้วให้ไปรับสมุดคำตอบได้เลย โดยให้นำบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวสอบไปแสดง สำหรับค่าใช้จ่ายจะมีเพียงค่าถ่ายเอกสารเท่านั้น

การขอดูสมุดคำตอบกับสภาทนายความนั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยากเลยเพียงแค่ไปเขียนคำร้องและรอเวลา 7 วันเท่านั้น

สำหรับนักเรียนที่สอบไม่ผ่านและสนใจสมัครติวตั๋วทนายกับผมที่สมาร์ทลอว์ติวเตอร์สามารถนำสมุดคำตอบตั๋วทนายมาให้ผมตรวจดูเพื่อช่วยหาข้อบกพร่องและแนะนำวิธีการปรับปรุงแก้ไขได้ครับ? สวัสดีครับ

********************

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 36

อ.เป้ สิททิกรณ์ อธิบายแนวคำตอบข้อสอบตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 36 ในส่วนของข้อสอบอัตนัยจำนวน 5 ข้อ อันได้แก่ คำฟ้องแพ่ง, คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก, หนังสือยินยอมเป็นทายาท, คำร้องทุกข์, หนังสือทวงถาม อ่านรายละเอียดเพิ่มคลิ้ก > (เพิ่มเติม…)

อ่านต่อ

เปลี่ยนแปลงคะแนนสอบ “ภาคปฏิบัติ”

ในการสอบข้อเขียน ตั๋วทนาย ภาคปฏิบัติ โดยปกติจะคะแนนสอบจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1.อัตนัย 80 คะแนน 2.ปรนัย 20 คะแนน 3.ฝึกงาน 110 คะแนน รวม 110 คะแนน ผู้ที่สอบได้ตั้งแต่ 55 ขึ้นไปถือว่าสอบผ่าน ซึ่งคะแนนแบบ 2 ส่วนนี้จะใช้ถึงการสอบภาคปฏิบัติ รุ่น 36 ซึ่งจะมีขึ้นช่วงสิ้นเดือนตุลาคม-ต้นเดือนพฤศจิกายน 2554 เท่านั้น

ในการสอบตั๋วทนาย ภาคปฏิบัติ ตั้งแต่รุ่น 37 เป็นต้นไป มีกระแสข่าวว่า สภาทนายความจะเปลี่ยนคะแนนสอบใหม่เหลือเพียง 2 ส่วนเท่านั้น คือ 1.อัตนัย 80 คะแนน และ 2.ปรนัย 20 คะแนน ไม่มีคะแนนฝึกงาน รวมเป็น 100 คะแนน ผู้สอบได้ตั้งแต่ 50 คะแนนขึ้นไปถือว่าสอบผ่าน (เหมือนกับคะแนนภาคทฤษฎี) แต่ทั้งนี้ ผู้สมัครยังคงต้องฝึกภาคปฏิบัติเป็นเวลา 6 เดือนและให้สำนักงานทนายความประเมิณผลการฝึกงานเช่นเดิม อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการจากสภาทนายความ

ที่มา : http://www.lawyerscouncil.or.th/2011/?name=webboard&file=read&id=3365

อ่านต่อ

แนวข้อสอบคดีไม่มีข้อพิพาท

คดีไม่มีข้อพิพาท

อ.เป้ สิททิกรณ์

“คดีไม่มีข้อพิพาท” หมายถึง คดีแพ่งที่บุคคลเสนอต่อศาลเพื่อใช้สิทธิทางศาลตามที่กฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิไว้

คดีไม่มีข้อพิพาทจะออกข้อสอบตั๋วทนาย 1 ?ข้อ ?ประมาณ 20 – 50 คะแนน เรื่องที่เคยออกข้อสอบ ได้แก่

  1. คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
  2. คำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ
  3. คำร้องขอให้ศาลถอนผู้จัดการมรดกและขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกแทน
  4. คำคัดค้านคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกและขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก

************************************

อ่านต่อ