ข้อสอบตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี

ข้อสอบตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 41

คำถามและแนวคำตอบข้อสอบ ตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 41

โดย อาจารย์เป้ www.SmartLawTutor.com

1380440_511951902228735_1922070510_n

ข้อเท็จจริงโดยย่อ

นายหนึ่งทำสัญญาว่าจ้างออกแบบและตกแต่งห้องชุดลงวันที่ 10 มิถุนายน 2555 กับบริษัทจันทร์ดีไซด์จำกัด มีนายพุธเป็นกรรมการผู้จัดการ ตกลงค่าจ้างกัน 3 ล้านบาท ตกลงในข้อสัญญาว่าให้ทำแล้วเสร็จภายใน 3 เดือนเริ่มทำเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2555 โดยถือเอากำหนด 3 เดือนเป็นสาระสำคัญ

นายหนึ่งได้จ้างสถาปนิกเป็นผู้ดูแล เมื่อเวลาผ่านไป 2 เดือนสถาปนิกแจ้งว่าบริษัทฯทำงานล่าช้า ใช้วัสดุต่ำกว่าคุณภาพที่ตกลงไว้ในสัญญา หากปล่อยให้บริษัทฯทำต่อไป จะทำให้เสร็จไม่ทันตามกำหนดตามสัญญา

นายหนึ่งให้ทนายความชื่อ นายตุลาทำหนังสือบอกเลิกสัญญาว่าจ้างดังกล่าว เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2555 เรียกเงินที่นายหนึ่งชำระไปแล้วบางส่วน 2 ล้าน และทำสัญญาใหม่จ้างบริษัทอื่นมาทำแทนเป็นเงิน 5 ล้าน เป็นค่ารื้อถอนเดิม 1ล้าน ค่าตกแต่ง 4ล้าน ทำให้ราคาเพิ่มจากสัญญาเดิม 2 ล้าน ทำให้นายหนึ่งเสียหาย 4 ล้าน ภายใน 7 วันนับแต่วันรับหนังสือบอกเลิกสัญญา ปรากฎว่าบริษัทฯได้รับหนังสือแล้วได้ขนย้ายของและคนออกแล้ว แต่ไม่คืนเงินพร้อมค่าเสียหาย

ระหว่างระยะเวลาหลังจากนายหนึ่งให้ทนายยื่นหนังสือบอกเลิกสัญญาบริษัทฯ จนถึงก่อนฟ้อง บริษัทฯได้ขนย้ายบริวารและเครื่องมือออกจากห้องชุดของนายหนึ่ง แต่นายดำและนายแดงซึ่งเป็นพนักงานบริษัทฯได้ใช้เหล็กทุบกระจกในบ้านค่าเสียหายคิดเป็นเงิน 500,000 บาท

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2555 ท่านยื่นฟ้องบริษัทฯ ให้ชดใช้ค่าเสียหาย 4 ล้านพร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระครบถ้วน

ในวันนัดชี้สองสถานบริษัทฯทำส.ประนีประนอมในศาล ว่ายอมรับตามฟ้องจะชดใช้ค่าเสียหายเปนเงิน 3 ล้านบาท โจทไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดจากจำเลยอีกค่าธรรมเนียมที่ศาลสั่งไม่คืนโจทก์และจำเลยตกลงให้เป็นพับ

คำสั่ง

ข้อ 1. คำฟ้องแพ่งและคำขอท้ายคำฟัองแพ่ง 35 คะแนน
ข้อ 2. สัญญาประนีประนอมยอมความ(ในศาล) 15 คะแนน
ข้อ 3. หนังสือบอกเลิกสัญญา 15 คะแนน
ข้อ 4. หนังสือมอบอำนาจร้องทุกข์ 10 คะแนน (ไม่ใช่คำร้องทุกข์เป็นหนังสือ)
ข้อ 5. คำร้องขอเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ 5 คะแนน

แนวคำตอบคำฟ้องแพ่ง

1.ข้อหา

> ผิดสัญญาจ้างทำของ

2.คู่ความ

> โจทก์ : นายหนึ่ง (ไม่มีการมอบอำนาจฟ้องคดีแพ่ง หากบรรยายว่ามอบอำนาจโดนหาร 2)
> จำเลย บจก.จันทร์ดีไซน์ (ไม่ฟ้องกรรมการเพราะโดยหลักแล้วกรรมการที่ทำสัญญาในขอบฯและถูกต้องตามข้อบังคับจะไม่ต้องรับผิดในหนี้ตามสัญญาของบริษัทฯ หากฟ้องกรรมการโดนหาร 2)

3.ค่าเสียหายและดอกเบี้ย

> A : ให้คืนเงินและชดใช้ค่าเสียหายรวม 4,000,000บ.
> B : ไม่คิดเพราะข้อสอบระบุว่าให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
> C : 4,000,000
> D : ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเงินแก่โจทก์ครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ใกล้เคียง?

ฎ.1950/2515?กรรมการทำสัญญาในฐานะผู้แทนของบริษัทจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคล ไม่ต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัว

ฎ.133/2524?จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว.เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่

หมายเหตุ

– หลักกฎหมายเกี่ยวกับการฟ้องบริษัทจำกัดและคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับ อ.เป้ได้เน้นให้ในห้องเรียนแล้วโดยอยู่ในชีทชุดที่ 2 คำฟ้องแพ่ง หน้า 53

– ข้อเท็จจริงที่กรรมการนำมาออกข้อสอบดัดแปลงมาจากข้อเท็จจริงที่ 1 เรื่องนายสมาน รักแต่งบ้าน ที่อ.เป้ใช้สอนการวินิจฉัยหลักกฎหมายในวันติวสรุปช่วงบ่าย

*********************************

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 36

อ.เป้ สิททิกรณ์ อธิบายแนวคำตอบข้อสอบตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 36 ในส่วนของข้อสอบอัตนัยจำนวน 5 ข้อ อันได้แก่ คำฟ้องแพ่ง, คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก, หนังสือยินยอมเป็นทายาท, คำร้องทุกข์, หนังสือทวงถาม อ่านรายละเอียดเพิ่มคลิ้ก > (เพิ่มเติม…)

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 38

ข้อเท็จจริง

วันที่ 14 กันยายน 2553 นายหนึ่ง มกราได้มาพบนายชอบ ยุติธรรมที่สำนักงาน เล่าให้ฟังว่า วันที่ 31 มีนาคม 2553 เวลา 16.30 น. ได้ไปพบนายสอง กุมภา เพื่อขอซื้อที่ดิน โฉนดที่ดินเลขที่ 11 ตำบลลาดยาว อำเภอจตุจักร กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 22 ตารางวา ด้านข้างมีอาคารพาณิชย์ซึ่งนายสอง กุมภา บอกว่าเป็นของนายโท กุมภา? นายหนึ่ง มกรา จึงขอซื้อในราคา8ล้านบาท เพราะเห็นว่าเป็นที่ทำเลดี นายสอง กุมภา กับนายโท กุมภา บอกว่า ที่ดิน 4 ไร่ข้างๆต่อไปนายโท กุมภาจะร่วมทุนกับชาวต่างชาติสร้างอาคาร ในเดือนสิงหาคม 2553 ถ้าสร้างเสร็จจะมีราคาถึง 15 ล้านบาท ถ้าจะขาย จะขายในราคา 10 ล้านบาท

วันที่ 1 เมษายน 2553 นายหนึ่งชำระราคาแก่นายสอง กุมภา โดยชำระราคาและจดทะเบียนซื้อขาย ณ สำนักงานที่ดินลาดพร้าว ต่อมา เดือนตุลาคม 2553 นายหนึ่ง มกราได้สอบถามคนข้างเคียงที่ดิน พบว่าที่ดินของนายโท กุมภา จำนวน 4 ไร่เศษ ถูกเจ้าพนักงานยึดออกขายทอดตลาดตั้งแต่ปี 52 แล้ว

วันที่ 14 กันยายน 2553 นายหนึ่งได้มอบให้ท่านทำหนังสือร้องทุกข์ และในวันเดียวกัน ได้มอบให้ท่านมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามแก่คนทั้งสองเพื่อเรียกร้องตามสิทธิ โดยร้องทุกข์ที่สน.พหลโยธิน วันที่ 15 กันยายน 2553 ท่านจึงมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้บุคคลทั้งสองชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ภายใน 7 วัน

วันที่ 30 กันยายน 2553 ท่านยื่นฟ้องคดีแพ่งพร้อมทำคำแถลงขอส่งหมายทางไปรษณีย์

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 ท่านมาตรวจสำเนาพบว่า นายสอง กุมภา และนายโท กุมภา ได้รับหมายฯตั้งแต่ 10 ตุลาคม 2553 แต่นายโท กุมภาเพิกเฉยไม่ยื่นคำให้การท่านจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีจำเลยโดยขาดนัดยื่นคำให้การ

ศาลนัดอ่านคำพิพากษาโดยให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามฟ้องพร้อมกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 20,000 แต่ไม่มีใครมาฟังคำพิพากษา ศาลให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 30 วันแต่จำเลยเพิกเฉย ท่านจึงยื่นคำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี

คำสั่ง

  • คำฟ้องแพ่ง 34 คะแนน
  • คำร้องทุกข์ 12 คะแนน
  • คำร้องขาดนัดขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ 7 คะแนน
  • หนังสือบอกกล่าว 10 คะแนน
  • คำแถลงส่งหมายทางไปรษณีย์ 5 คะแนน
  • คำขอออกหมายบังคับคดี 12 คะแนน

แนวคำตอบ

  • ข้อหา : กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ, เรียกค่าสินไหมทดแทน

ป.พ.พ. มาตรา 161 ถ้ากลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกำหนด อันหนักยิ่งกว่าที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปกติ คู่กรณีฝ่ายนั้นจะบอกล้างการนั้นหาได้ไม่ แต่ ชอบที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลนั้นได้

ฎ.5246/2543 จำเลยให้คำรับรองว่าที่ดินพิพาทที่จะขายให้แก่โจทก์ติดกับทางสาธารณะ แต่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทไม่ติดทางสาธารณะตามที่จำเลยให้คำรับรอง เมื่อโจทก์มีเจตนาซื้อที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ และได้ซื้อ ที่ดินพิพาทจากจำเลยในราคาที่แพงกว่าปกติของที่ดินในบริเวณเดียวกับที่ไม่ติดทางสาธารณะ ถือว่าจำเลยขายที่ดินแก่โจทก์โดยทำกลฉ้อฉล เป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระราคาสูงขึ้นกว่าราคาซื้อขายปกติ แต่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเพราะติดกับที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ด้วย จึงเป็นกลฉ้อฉลแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่าที่เขาจะยอมรับโดยปกติ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 (เทียบเคียง)

  • คู่ความ
    – โจทก์ >? นายหนึ่ง มกรา
    – จำเลย > นายสอง กุมภา กับ นายโท กุมภา
  • ค่าเสียหาย
    – ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน? 2,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยก่อนฟ้องอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 คิดถึงวันฟ้องเป็นเวลา 6 เดือนคิดเป็นเงิน 75,000 บาท? รวมเป็นทุนทรัพย์ 2,075,000 บาท และขอคิดดอกเบี้ยหลังฟ้องอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 2,000,000 บาท นับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป
    หมายเหตุ : ตามข้อเท็จจริงเป็นกรณีกลฉ้อฉลเพื่อเหตุ ตามป.พ.พ. มาตรา 161 สัญญาซื้อขายจึงไม่เป็นโมฆียะ บอกล้างไม่ได้ จึงไม่มีคำขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขาย


ข้อสังเกตโดย อ.เป้

> แนวการออกข้อสอบเน้นหลักกฎหมาย การหาวันคิดดอกเบี้ย และการคำนวณทุนทรัพย์ ในการสอบครั้งต่อไปนักเรียนต้องศึกษาหลักการเขียนทบทวนหลักกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้แม่นยำก่อนเข้าสอบด้วยนะครับ
> คอร์สติวของผมจึงต้องเพิ่มวันติวหลักกฎหมายโดยเฉพาะอีก?1 วัน?รอฟังผลสอบ 19 เม.ย.55 ขอให้ทุกคนสอบผ่านครับ

สมัครติวสอบใบอนุญาตทนายความ ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และผู้ฝึกงาน 1 ปี กับ อ.เป้ สิททิกรณ์

โทร.086-987-5678 หรือดูรายละเอียดที่ www.SmartLawTutor.com

***********************************

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 40

?

ข้อเท็จจริง (โดยย่อ)

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2555 นายหนึ่ง ขายรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นแคมรี่ หมายเลขทะเบียน……….. ให้กับ นายสองในราคา 1,200,000 บาท โดยนายสอง ได้ชำระเงินให้แก่นายหนึ่ง 200,000 บาทในวันนั้น ส่วนเงินอีก 1,000,000 บาท นายสองได้ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ ที่นายสาม เป็นหนี้นายสองอยู่ 1,000,000 บาท ให้แก่นายหนึ่ง โดยสัญญากู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ร้อยละ 12 ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน ?กำหนดชำระเงินต้นในวันที่ 31 กรกฎาคม 2555

ต่อมา นายหนึ่งได้ให้ทนายทำหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้อง ไปยังนายสามเพื่อแจ้งให้นายสามทราบ โดยนายสามได้รับหนังสือแจ้งการโอนวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 นายสามชำระดอกเบี้ยถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2555?แต่หลังจากนั้นเพิกเฉย

ข้อความในสัญญากู้ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 กู้เงิน 1,000,000 บาท คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี นายสามได้จำนองที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 11 เลขที่ดิน 22 ลาดยาว กรุงเทพ 50 ตรว เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้กับนายสอง และมีข้อความต่อท้ายอีกว่า หากจำนองแล้วได้เงินไม่พอ ตนจะชำระหนี้ในส่วนที่เหลือให้นายสองจนครบถ้วน โดยสัญญากู้มีกำหนดชำระเงินในวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 (ข้อสอบแนบสัญญากู้ยืมเงินมาให้ด้วย)

นายหนึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดมกรา นายหนึ่งจอดรถยนต์กระบะยี่ห้อโตโยต้า หมายเลขทะเบียน ยย 1234 ของห้างฯไว้ที่หน้าห้างฯปรากฎว่ารถยนต์กระบะคันดังกล่าวได้สูญหายไปเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2555 เวลาประมาณเที่ยงคืน ?นายหนึ่งจึงมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจ…….. ต่อมาพนักงานสอบสวนจับกุมนายสี่ได้โดยนายสี่เอารถยนต์กระบะคันดังกล่าวไปซ่อนไว้หลังบ้านของนายสี่ตั้งอยูเลขที่……. แขวง……. เขต…….. ?กรุงเทพมหานคร ?แต่นายสี่ให้การปฏิเสธ พนักงานสอบสวนจึงต้องปล่อยตัวไป ให้ฟ้องนายสี่เป็นคดีอาญา

นายหนึ่งมาพบทนายความวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 และทำสัญญาโอน และหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในวันเดียวกัน ทำหนังสือบอกกล่าวทวงถาม 10 สิงหาคม 2555 ยื่นคำฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาวันที่ 31 สิงหาคม 2555

ข้อสอบให้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 , มาตรา 335(1) และมาตรา 357 มาท้ายคำสั่ง

คำสั่ง

1.สัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง? ?10 คะแนน

2.หนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้อง ? 8 คะแนน

3.หนังสือบอกกล่าวทวงถาม ?10 คะแนน

4.คำฟ้องแพ่ง ? ? ?32 คะแนน

5.คำฟ้องอาญา ? 15 คะแนน

6.คำแถลงขอส่งหมายทางไปรษณีย์ ?5 คะแนน

แนวคำตอบข้อ 4 คำฟ้องแพ่ง

?1.ข้อหา

?> โอนสิทธิเรียกร้อง, ผิดสัญญากู้ยืมเงิน, บังคับจำนอง

2.คู่ความ

> โจทก์ : นายหนึ่ง (ในฐานะส่วนตัว)

> จำเลย : นายสาม

3.ค่าเสียหาย

A. ให้ชำระเงินต้น 1,000,000 บาท และให้บังคับจำนองที่ดิน

B. ดอกเบี้ยก่อนฟ้องคิดอัตราร้อยละ 12 ต่อปีของเงินต้น 1,000,000 บาท คิดเป็นรายเดือนนับแต่เดือนกรกฎาคม 2555 คิดถึงวันฟ้อง (31 สิงหาคม 2555 ) เป็นเวลา 2 เดือน คิดเป็นเงิน 20,000 บาท

C. ทุนทรัพย์ 1,020,000 บาท

D.ดอกเบี้ยหลังฟ้องคิดอัตราร้อยละ 12 ต่อปีของเงินต้น 1,000,000 บาท นับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระครบถ้วน

4.หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ป.พ.พ. มาตรา 304 ถึงมาตรา 306 ?อ.เป้สอนประเด็นนี้ในคอร์สพิเศษ โดยอยู่ในชีทชุดที่ 9 การวินิจฉัยหลักกฎหมาย หน้า 42

แนวคำตอบข้อ 5 คำฟ้องอาญา

1.ข้อหา

> ฟ้องทั้งข้อหาลักทรัพย์และรับของโจร แต่ขอให้ลงโทษเพียงข้อหาใดข้อหาหนึ่ง

2.คู่ความ

> โจทก์ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดมกรา โดยนายหนึ่ง มกรา หุ้นส่วนผู้จัดการ

> จำเลย : นายสี่

?หมายเหตุ การเขียนเหมือนกับแนวคำตอบภาคทฤษฎี รุ่น 39

ประกาศผลสอบวันที่่ 6 กมภาพันธ์ 2555

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 35

ข้อสอบตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 35

 

ข้อ 1. คำร้องทุกข์เป็นหนังสือ

ข้อ 2. หนังสือบอกกล่าวทวงถาม

ข้อ 3. คำฟ้องแพ่งและคำขอท้ายฟ้อง (ละเมิด)

ข้อ 4. คำแถลงขอส่งหมายทางไปรษณีย์

ข้อ 5. คำร้องขอรวมการพิจารณา

ข้อ 6. คำแถลงขอศาลออกนั่งบัลลังก์

**********

ฎีกาข้อคำฟ้องแพ่ง

ฎ. 734/2551 จำเลย ที่ 1 ทำสัญญากับจำเลยที่ 2 รับจ้างรักษาความปลอดภัยบริเวณภายในและภายนอกอาคารที่กำหนดรวมทั้งลานจอดรถ ของจำเลยที่ 3 โดยกำหนดให้ต้องรักษาความปลอดภัยด้านโจรกรรม และดูแลรถของลูกค้าหรือบุคคลภายนอกที่เข้ามาใช้บริการภายในศูนย์ไม่ให้เกิด ความเสียหาย ซึ่งในทางปฏิบัติจำเลยที่ 1 จะจัดให้มีพนักงานประจำที่ทางเข้าลานจอดรถเพื่อคอยมอบบัตรผ่านลานจอดรถและ เขียนหมายเลขทะเบียนกำกับไว้ก่อนมอบให้ผู้ที่จะนำรถเข้ามาจอด เมื่อจะนำรถออกผู้ขับรถจะต้องคืนบัตรผ่านลานจอดรถและชำระค่าบริการจอดรถให้ แก่พนักงานที่ประจำทางออกให้เสร็จเรียบร้อยก่อนจึงขับรถผ่านออกไปได้ ก. และ ว. ผู้เอาประกันภัยได้นำรถที่โจทก์รับประกันภัยเข้าไปจอดในลานจอดรถของอาคารดัง กล่าว และได้รับบัตรผ่านลานจอดรถจากพนักงานของจำเลยที่ 1 แต่ไม่ได้เขียนหมายเลขทะเบียนรถกำกับไว้จึงมีผู้นำรถยนต์พิพาทผ่านออกจากลาน จอดรถได้ โดยที่บัตรผ่านลานจอดรถและหลักฐานการเป็นเจ้าของรถยังอยู่กับ ว. ผู้เอาประกันภัย เหตุที่รถยนต์ของ ว. ผู้เอาประกันภัยสูญหายไปเกิดจากความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 ที่ไม่เขียนหมายเลขทะเบียนรถกำกับไว้ในบัตรผ่านลานจอดรถและไม่ตรวจสอบหลัก ฐานให้ละเอียดรอบคอบก่อนที่จะอนุญาตให้นำรถออกไป เป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ด้านหลังบัตรผ่านลาน จอดรถ ถือได้ว่าพนักงานของจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่เป็นเหตุให้รถยนต์ ของ ว. ผู้เอาประกันภัยสูญหาย ถือได้ว่าลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับประกันภัย
เงื่อนไขที่ระบุไว้ด้านหลังบัตรผ่านลานจอดรถที่ว่า การออกบัตรนี้ไม่ใช่เป็นการรับฝากรถ บริษัทฯ จะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายต่อรถใด ๆ ทั้งสิ้นเป็นเงื่อนไขที่จำเลยที่ 1 กำหนดขึ้นเพื่อให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดตามเงื่อนไขที่จำเลยที่ 1 กำหนดขึ้นแต่ฝ่ายเดียว ไม่มีผลเป็นการยกเว้นความรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิ

credit?: ขอบคุณ คุณ?Joey?(vanattapong@hotmail.com)

******************************

อ่านต่อ