ข้อสอบตั๋วปี

ข้อสอบตั๋วปี 2/56

แนวคำตอบข้อสอบตั๋วปี 2/56 โดย อ.เป้ @สมาร์ทลอว์ติวเตอร์

1381212_543513885731680_582555156_n

คำสั่ง?

1. ให้ทำหนังสือแนะนำปัญหาข้อกฎหมาย 12 คะแนน
2.คำฟ้องแพ่ง 33 คะแนน
3. หนังสือทวงถาม 8 คะแนน
4.คำแถลงขอปิดหมาย (คดีแพ่ง) 5 คะแนน
5. คำฟ้องอาญา 12 คะแนน

 

แนวคำตอบข้อคำฟ้องแพ่ง

ข้อหา > ปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำโดยสุจริต, ภาระจำยอม, ละเมิด

คู่ความ > โจทก์ : นายหนึ่ง กอไก่, จำเลยที่ 1 : นายสอง, จำเลยที่ 2 : นายสาม

ค่าเสียหายและดอกเบี้ย

A. ให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินส่วนที่โจทก์ปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำให้แก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 1 ออกค่าใช้จ่าย หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 1 ออกค่าใช้จ่าย
ให้จำเลยที่ 1 รับค่าใช้ที่ดินส่วนที่รุกล้ำไปจากโจทก์
ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายจากการทำละเมิดแก่โจทก์จำนวน 300,000บาท

B.ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5ต่อปีของค่าเสียหาย 300,000บาท นับแต่วันที่ 30 มี.ค.56 ซึ่งเป็นวันทำละเมิดคิดถึงวันฟ้อง (20มิ.ย.56) เป็นเวลา 2 เดือน 22 วัน โดยโจทก์ขอคิดเป็นเวลา 2 เดือน คิดเป็นเงิน 3,750 บาท

C.ทุนทรัพย์ 303,750 บ. (คำนวณจากยอดค่าเสียหายจากการทำละเมิดและดอกเบี้ยเท่านั้น)

D.ดอกเบี้ยหลังฟ้อง ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของค่าเสียหาย 300,000บ. นับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะร่วมกันหรือแทนกัน ชำระแก่โจทก์ครบถ้วน

แนวคำตอบข้อคำฟ้องอาญา

ข้อหา > ทำร้ายร่างกายสาหัส

คู่ความ > โจทก์ : นายหนึ่ง กอไก่, จำเลยที่ 1 : นายสอง
,จำเลยที่ 2 : นายสาม

กรณีพิเศษ (เพิ่มโทษ, นับโทษต่อ, ค่าเสียหายทางแพ่ง) > ไม่มี

หมายเหตุ แนวคำตอบนี้ทำจากข้อเท็จจริงที่นักเรียนเล่าให้ฟัง หากข้อเท็จจริงที่รับฟังมาคลาดเคลื่อนอาจมีผลทำให้แนวคำตอบนี้ต้องเปลี่ยนแปลงไป

 

รอสภาฯประกาศผลสอบ 4 ธ.ค.56 ขอให้ทุกคนสอบผ่านครับ

 

อนุญาตให้แชร์ได้ โดยให้เครดิตครับ

 

*****************************************

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วปี 1/56

ข้อสอบตั๋วปี 1/56

 

อาจารย์เป้

 

ข้อเท็จจริง(โดยย่อ)

น.ส.สดสวย สาวเสมอ เป็นนางงามของเมืองขุขันธ์ ได้ตำแหน่งนางงามขุขันธ์เมื่อปี 2554 ได้มาพบท่าน ทนายโรมรัน ต่อทุกทิศ เล่าให้ฟังว่า เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2556 หนังสือพิมพ์รายวันมติทาน ของบริษัท มติทาน จำกัด ในนามนายพร้อมรัก พักทุกตอน กรรมการผู้จัดการ มีนายรักษ์พงษ์ เป็นบรรณาธิการ และนายรักชาติ เป็นผู้เขียนข่าว ได้ตีพิมพ์ข้อความในหนังสือพิมพ์รายวันดังกล่าว ในเนื้อความข่าวว่า “ขนาดนางงาม ชื่อเล่น ปู ยอมแก้ผ้า 10 ล้าน” ซึ่งถ้าประชาชนอ่าน จะทำให้ถูกดูถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ว่าไม่มีทางทำมาหากินต้องแก้ผ้าเลี้ยงชีวิต

วันที่ 11 ก.พ. 56 ทนายความทำหนังสือบอกกล่าวทวงถาม เรียกผู้ต้องรับผิดทุกคนให้ชำระค่าเสียหาย 1ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยและ ให้ลงโฆษณาแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์มติทาน ไทยรัฐ เดลินิวส์ และสื่อท้องถิ่นของเมืองขุขันธ์เป็นจำนวน 7 วันติดต่อกัน ทุกคนได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามแล้วเพิกเฉย ท่านจึงนำคดีแพ่งมาฟ้องต่อศาลแพ่ง และฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงพระนครเหนือด้วย

โดยได้ยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อศาลในวันที่ 2 มี.ค.56 เป็น คดีดำเลขที่ 111/2555 (ส่วนคดีอาญา ข้อเท็จจริงมิได้ระบุคดีหมายเลขดำมาให้)

ต่อมา ในวันที่ 19 มี.ค. 56 จำเลยได้ขอทำยอมต่อหน้าศาล ขอชำระเงิน 800,000 บาท และประกาศหนังสือพิมพ์ ตามที่โจทก์ขอ 7 วัน แต่จำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมเป็นคดีแดงเลขที่ 222/2556 โจทก์จึงทำคำร้องต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามโจทก์จึงลงโฆษณาแก้ข่าวเองเสียค่าใช้จ่าย 150,000 บาท

 

คำสั่ง

– คำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องคดีแพ่ง 30 คะแนน
– คำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องคดีอาญา 12 คะแนน
– คำร้องขอปิดหมาย 5 คะแนน (ชื่อที่ถูกต้องคือ คำแถลงขอปิดหมาย)
– คำร้องขอออกหมายบังคับคดี 5 คะแนน (ชื่อที่ถูกต้องคือ คำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี)
– หนังสือบอกกล่าวทวงถาม 8 คะแนน
– สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล 10 คะแนน

 

แนวคำตอบคำฟ้องแพ่ง

ข้อหา : ละเมิดต่อชื่อเสียง

คู่ความ :

โจทก์ > นางสาวสดสวย สาวเสมอ

จำเลยที่ 1 > นายรักชาติ

จำเลยที่ 2 > นายรักพงษ์

จำเลยที่ 3 > บจก.มติทาน

ค่าเสียหายและดอกเบี้ย

A. ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายต่อชื่อเสียง 1,000,000บาท

ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันลงโฆษณาแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันฯเป็นเวลา 7 วันติดต่อกัน โดยให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันออกค่าใช้จ่าย หากจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตาม ให้โจทก์ดำเนินการแทน โดยให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันออกค่าใช้จ่าย

B. ดอกเบี้ยก่อนฟ้องในส่วนของค่าเสียหายต่อชื่อเสียงคิดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงิน 1,000,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค. 2556 ซึ่งเป็นวันตีพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์อันเป็นวันทำละเมิด คิดถึงวันฟ้อง (2 มี.ค.56) เป็นเวลา 1 เดือน 4 วัน โดยโจทก์ขอคิดเป็นเวลา 1 เดือน คิดเป็นเงิน 6,250บาท

C. ทุนทรัพย์ 1,006,250 บาท

D. ดอกเบี้ยหลังฟ้องในส่วนของค่าเสียหายต่อชื่อเสียงคิดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินต้น 1,000,000 บาท นับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินแก่โจทก์ครบถ้วน

 

ฎ.1712/2551 จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ต้องรับผิดชอบในข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ตนคัดเลือกนำมาลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งหมด จะอ้างว่าโดยปกติตนจะตรวจข่าวในกรอบพาดหัวหน้า 1 เป็นหลัก ข่าวในส่วนปลีกย่อยจะไม่ให้ความสนใจนั้นไม่ได้ เมื่อข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดก็จะต้องรับผิดเพราะตนเป็นผู้จัดการไขข่าวให้แพร่หลาย ส่วนจำเลยที่ 1 (บมจ.) เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในทางการที่จ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ด้วย

 

แนวคำตอบคำฟ้องอาญา

ข้อหา : หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา

คู่ความ :

โจทก์ > นางสาวสดสวย สาวเสมอ

จำเลย > นายรักชาติ

คำขอท้ายคำฟ้องอาญา

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328,332

ให้จำเลยโฆษณาผลของคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์

ฎ.6268/2550 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซึ่งลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 326, 328 พ.ร.บ.การพิมพ์ฯ มาตรา 48 แต่ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ฯ มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป และ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ฯ ไม่ได้บัญญัติให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการ ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง

ฎ.3/2542?ข้อความที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณาว่าโจทก์เรียกเงิน 5 ล้าน ในการถ่ายภาพนู้ด นั้น จำเลยที่ 1 มิได้อ้างถึงข้อความ จริงอันใดเลยในการแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งไม่มีข้อความ ที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะปกป้องโจทก์ แต่กลับ เป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 มุ่งประสงค์ใส่ความ เพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริง เข้าใจผิด ดูหมิ่น เกลียดชังโจทก์ อันส่งผลกระทบต่อเกียรติยศและสถานะในทางสังคมของโจทก์หาใช่เป็นการติ ชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่ จึงเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับการยกเว้นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 การที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332 กำหนดให้คดี หมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง (2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์ หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลย เป็นผู้ชำระค่าโฆษณานั้นเป็นการให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณา คำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณา คำขออภัยด้วย ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากโทษ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคหนึ่ง ทั้งการที่สั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำพิพากษา ของศาลทั้งหมดนั้นก็เกินความจำเป็น สมควรให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำพิพากษาของศาลโดยย่อพอได้ใจความ โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า บริษัท ข.จำเลยที่ 2 เป็นผู้ใส่ความโจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำ ความผิดหรือรู้ว่าข้อความที่ตีพิมพ์เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ดังนั้น ลำพังแต่เพียงได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและ จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป จึงไม่พอรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1

หมายเหตุ : ผู้เขียนทำแนวคำตอบจากข้อเท็จจริงที่นักเรียนส่งมาให้ หากข้อเท็จจริงไม่ตรงกับข้อสอบอาจทำให้แนวคำตอบนี้เปลี่ยนแปลงไป

*************************************************

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วปี 1/54

เฉลยข้อสอบ ตั๋วปี 1/54

อ.เป้ สิททิกรณ์

> ข้อเท็จจริง

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 ?นายรวย แสนขสุขให้? นายหนึ่ง? มกรา กู้เงิน จำนวน 3,000,000 บาท เพื่อนำมาใช้ประกอบธุรกิจส่วนตัว??กำหนดชำระเงินต้นวันที่ 31 ธ.ค. 2553 ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ตกลงผ่อนชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน ในการทำสัญญาเงินกู้ นายสอง มกรา ทำสัญญาค้ำประกัน เพื่อประกันหนี้เงินกู้ของนายหนึ่ง มกรา โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม?? นอกจากนี้ นายหนึ่ง มกรา ได้นำที่ดิน โฉนดที่ดินเลขที่ 111 เลขที่ดิน 11 ตำบลสีลม อำเภอบางรัก พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น เลขที่ 22 ถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ นายหนึ่ง มกรา ?ต่อมานายหนึ่ง มกรา? ได้แต่งงานและจดทะเบียน กับนางจันทร์ มกรา เมื่อปี ?2540? ?ในการจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมดังกล่าวนายจันทร์ ได้ให้ความยินยอมแนบท้ายสัญญาเงินกู้ดังกล่าว ?นางจันทร์ มกรา ซึ่งเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของนายหนึ่ง มกรา ลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ยืมเงินและให้ความยินยอมในสัญญาจำนองโดยมีข้อสัญญา ? ?ต่อมานายหนึ่ง มกรา ชำระเฉพาะดอกเบี้ยทุกเดือน จนถึงงวดเดือน 31 ธันวาคม 2553 และไม่ชำระหนี้เงินต้นตามสัญญา

วันที่ 25 เมษายน 2553 นายสี่ เมษาได้เล่าให้นายรวย แสนสุข ว่าตนเดินผ่านหน้าบ้านนายหนึ่ง มกรา เห็นนายห้า พฤษภา คุยอยู่กับนาย หนึ่ง มกรา จึงเดินเข้าไปทักทาย นายหนึ่ง มกรา ได้บอกกับคนทั้งสองว่า??ไอ้รวย แสนสุขมันหน้าเลือดขูดรีดคนจน มันออกเงินกู้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 20 ต่อเดือน เมื่อปีที่แล้วมันคิดกูร้อยละ 12 ต่อเดือน แล้วตามทวงทุกวัน อย่าไปคบหากับมัน? ?นายสี่มาเล่าให้นายรวย แสนสุข ฟังก็เลยอธิบายไปว่าไม่เคยคิดดอกแพงขนาดนั้น นี่ให้กู้ไปตั้งนานแล้วนายหนึ่งก็ยังไม่นำเงินมาคืนเลย

วันที่ 5 พฤษภาคม 2554 ท่านจึงทำหนังสือให้คำปรึกษาทางกฏหมายให้กับนายรวย แสนสุขในส่วนสิทธิในการได้รับชำระหนี้และการบังคับจำนองเพื่อประกอบการตัดสินใจในการฟ้องคดี

วันที่ 6 พฤษภาคม 2554 ท่านได้ทำหนังสือบอกกล่าวทวงถามและไถ่ถอนจำนองให้แก่ผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกันทุกคนในหนังสือฉบับเดียวกันโดยให้มาดำเนินการดังกล่าวภายใน 15 วันแต่ทุกคนได้รับแล้วเพิกเฉย

วันที่ 31 พฤษภาคม 2554 ท่านได้ยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งเป็นคดีดำเลขที่ ??123/2554??.ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และได้ยื่นฟ้องนายหนึ่ง มกราเป็นคดีอาญาที่ศาลแขวงพระโขนงเป็นคดีดำเลขที่? 234/2554

> คำสั่ง

ข้อ 1.หนังสือให้คำปรึกษาทางกฎหมาย 18 คะแนน
ข้อ 2. หนังสือทวงถาม (ถึงผู้ต้องรับผิดทุกคนในฉบับเดียวกัน) 10 คะแนน
ข้อ 3. คำฟ้องแพ่ง (ผิดสัญญากู้ยืมเงิน,หนี้ร่วม,ค้ำประกัน,จำนอง) 30 คะแนน
ข้อ 4. คำฟ้องอาญา (หมิ่นประมาท) 12 คะแนน

> หลักกฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามี หรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
(1)
หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบ ครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและ การศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2)
หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3)
หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4)
หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้ให้สัตยาบัน

> คำพิพากษาศาลฎีกา

ฎ.5848/2550 จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอม โดยระบุว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อและจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และกู้ยืมเงินจากโจทก์ได้โดยไม่คัดค้าน ดังนี้ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมรับรู้หนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีได้ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวในระหว่างสมรสและจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 (4) ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องร่วมกันรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวแก่โจทก์

ฎ.6829/2551 จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์และทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว โดยมีข้อสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่า หากโจทก์บังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบ จำเลยที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินดังกล่าว เป็นการร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นและได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) จำเลยที่ 2 ในฐานะภริยาต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นสามีรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย

ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติเพียงว่า ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวนั้น มิได้บัญญัติบังคับว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือด้วยการมอบอำนาจให้ทนายความบอกกล่าวบังคับจำนองจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือตามมาตรา 798 วรรคหนึ่ง

> แนวคำตอบ

คำฟ้องแพ่ง

ข้อหา : ?ผิดสัญญากู้ยืมเงิน,จำนอง,ค้ำประกัน,หนี้ร่วม

คู่ความ : โจทก์ 1 คน คือ นายรวย แสนสุข /?จำเลย 3 คน คือ นายหนึ่ง มกรา, นางจัทร์ มกรา, นางสอง มกรา ( ภริยาต้องรับผิดด้วยเพราะเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1490(4) )

ทุนทรัพย์ :

A = เงินต้น 3,000,000 บาท และ ขอบังคับจำนองกับที่ดินและอาคารพาณิชย์

B = ดอกเบี้ยก่อนฟ้องคิดอัตราร้อยละ 12 ต่อปี (ตามข้อสัญญา) ของเงินต้น 3,000,000 บาท นับตั้งแต่ 31 มกราคม 2553 ถึงวันฟ้อง (31 พฤษภาคม 2554) เป็นเวลา 5 เดือน คิดเป็นเงิน 150,000 บาท

C = ทุนทรัพย์ 3,150,000 บาท

D = ดอกเบี้ยหลังฟ้องอัตราร้อยละ 12 ต่อปีของเงินต้น 3,000,000 บาท นับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะร่วมกันหรือแทนกันชำระแก่โจทก์ครบถ้วน (รอฟังข้อเท็จจริงให้ครบ)

คำฟ้องอาญา

-?ข้อหา : ? ?หมิ่นประมาท ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326

เทคนิคการบรรยายฟ้องข้อหาหมิ่นประมาท

1. ให้เขียนข้อความที่เป็นหมิ่นประมาทในเครื่องหมาย “……………………….”

2. ต้องอธิบายความหมายของข้อความที่เป็นหมิ่นประมาท

3. ต้องบรรยายว่าข้อความนั้นไม่จริงอย่างไร

4. ต้องบรรยายว่า ข้อความนั้นทำโจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือ ถูกเกลียดชัง อย่างไร

คู่ความ : โจทก์ 1 คน คือ นายรวย แสนสุข,?จำเลย 1 คน คือ นายหนึ่ง มกรา (ผู้กระทำ)

ทุนทรัพย์ : ไม่มี (ข้อเท็จจริงมิได้กำหนดให้เรียกค่าเสียต่อชื่อเสียง)

หมายเหตุ

ถ้ามีข้อเท็จจริงส่วนใดขาดตกบกพร่องหรือมีข้อผิดพลาดช่วยแจ้งให้ทราบด้วยครับ เพราะอาจจะทำให้ผลของการวินิจฉัยข้อกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป

*****************************************

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วปี 2/54

คำถามและแนวคำตอบ

ข้อสอบผู้ฝึกงาน 1 ปี 2/54

ข้อเท็จจริง

วันที่? 5 มกราคม 2555 นายอังคาร กุมภา มาพบท่านซึ่งเป็นทนายความชื่อ นายชอบ ยุติธรรม นำสำเนาคำฟ้องซึ่งคนรับใช้ในบ้านลงชื่อรับไว้แทนเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554 มาให้ท่านดูและเล่าว่า นายยอด มกรา เคยนำโฉนดที่ดินมามอบให้ไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ตามสัญญาเงินกู้ลงวันที่ 15 มกราคม 2545 ซึ่งนายยอด มกรา เคยกู้ยืมเงินไปจากตน 1,000,000 บาท ไม่มีกำหนดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย และนายยอด มกราก็ไม่เคยชำระเลยทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ตนก็ไม่เคยทวงถาม ตนเพิ่งทราบว่านายยอด มกรา ถึงแก่ความตายจากสำเนาคำฟ้องที่เพิ่งได้รับในวันนี้ เนื่องจากไปทำงานต่างจังหวัดตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2554 เพิ่งกลับมาวันนี้จึงรีบมาพบท่าน

นายอังคาร กุมภา เล่าว่าเมื่อยานวานนี้ได้รถยนต์ยี่ห้อ………รุ่น………..หมายเลขทะเบียน…………..ไว้ที่หน้าบ้าน เช้านี้พบว่ากระจกประตูหน้าด้านขวารถแตกและวิทยุในรถหายไป เสียหายเป็นเงิน 20,000 บาท

ในวันนั้น ท่านจึงทำคำร้องทุกข์ คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การ วันที่ 10 มกราคม 2555 ท่านยื่นคำให้การต่อสู้คดีและคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นปัญหาข้อกฎหมาย

(หมายเหตุ : ในคำฟ้องแพ่งข้อ 1. ระบุว่า โจทก์ทั้งสองและนายจันทร์เป็นผู้จัดการมรดกของนายยอด แต่นายจันทร์และนายยอดถึงแก่ความตายไปแล้ว )

คำสั่ง

ข้อ 1. คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การ ?8 ?คะแนน

ข้อ 2. คำร้องทุกข์เป็นหนังสือ ?8 ?คะแนน

ข้อ 3. คำให้การ ?34 คะแนน

ข้อ 4. คำร้องวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย 20 คะแนน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1754 ห้ามมิ ให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตาม พินัยกรรม

ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้ นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้อง ร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย

มาตรา 1755 อายุความหนึ่งปีนั้นจะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่โดยบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

ฎ.6857/2553 แม้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1715 วรรคสองบัญญัติว่า “เว้นแต่จะมีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถ้ามีผู้จัดการมรดกหลายคน แต่ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นบางคนไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่คนเดียวผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการได้โดย ลำพับ แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่หลายคนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้”?ก็มีความหมายถึงผู้ จัดการมรดกที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งขึ้นโดยไม่มีพินัยกรรม การที่ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน การกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 ที่ให้กระทำการโดยถือเอาเสียงข้างมาก หากปรากฏว่าผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย?ผู้จัดการมรดกที่ เหลือย่อมต้องร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อการฟ้องคดีเพื่อ จัดการทรัพย์มรดกเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามมาร ตรา 1736 วรรคสอง และมีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามคำ สั่งศาลกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคนต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 ที่กฎหมายได้กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจนำวิธีการตามมาตรา 1715 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เฉพาะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมมาใช้บังคับได้ ดังนั้น เมื่อ ป. ผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตาย โดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมจะจัดการมรดกต่อไปเพียงสองคนโดย ยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป ย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลและไม่มีอำนาจจะจัดการได้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

ฎ.8172/2551 เมื่อสัญญากู้เงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดอายุความการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

ฎ.229/2522 แม้จะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยนำสืบว่า โจทก์ได้กู้เงินจำเลยและได้มอบโฉนดที่ดินให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันการกู้ เงิน ตามสัญญากู้มิได้กำหนดวันชำระเงินไว้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่จะให้โจทก์ ชำระเงินตามสัญญากู้เริ่มนับตั้งแต่วันกู้เป็นต้นไป และมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นับตั้งแต่วันกู้เงินถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้วจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยไม่ขาดอายุความเพราะ เหตุใด เมื่อหนี้ที่จำเลยอาศัยเป็นมูลเหตุยึดถือโฉนดฉบับพิพาทของโจทก์ไว้ขาดอายุ ความเสียแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดไว้เป็นประกันหนี้นั้นต่อไป

การที่โจทก์กู้เงินและมอบโฉนดให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ ไม่เข้าลักษณะจำนำ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา189 จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดของโจทก์ไว้ต้องคืนให้โจทก์ (วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2521)

ฎ.1416/2499 มอบโฉนดที่ดินให้ผู้อื่นไปใช้ประกันจำเลยในคดีอาญาโดยผู้นั้นออกเงินจำนวนหนึ่งไปไถ่ถอนโฉนดนั้นมาจากการที่เจ้าของโฉนดไปวางประกันเงินกู้ไว้กับผู้มีชื่อและตกลงกันว่าเมื่อถอนประกันจำเลยแล้วเจ้าของโฉนดจะคืนเงินจำนวนที่ผู้นั้นออกไปไถ่ถอนโฉนดนั้นมาให้ ถ้ายังหาเงินให้ไม่ทัน ก็ให้ผู้นั้นยึดโฉนดไว้ก่อนดังนี้ ผู้นั้นย่อมมีสิทธิจะยึดโฉนดไว้ได้จนกว่าเจ้าของโฉนดจะปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ตกลงกัน

แนวคำตอบ

อำนาจฟ้อง ข้อเท็จจริงปรากฎว่า นายยอดซึ่งเป็นผู้กู้และได้ถึงแก่ความตายแล้วมีผู้จัดการมรดก 3 คน คือ นายจันทร์ นายหนึ่ง นายสอง แต่นายจันทร์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกคนหนึ่งได้ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ผู้จัดการมรดกที่เหลืออีกสองคนจึงไม่มีอำนาจจัดการมรดก รวมทั้งการฟ้องคดีมรดกด้วย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ตามฎ.6875/2553

สิทธิยึดหน่วง ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงว่า นายอังคาร(จำเลย)ทราบถึงแก่ความตายของนายยอดในวันที่เท่าไหร่? ข้อเท็จจริงปรากฎว่า นายอังคาร(จำเลย)ทราบว่านายยอดถึงแก่ความตายในวันที่มาพบทนายความคือวันที่ 5 มกราคม 2555 อายุความมรดก 1 ปีจึงเริ่มนับในวันดังกล่าว เมื่อนายอังคาร(จำเลย)ยื่นคำให้การในวันที่ 10 มกราคม 2555 หนี้ตามสัญญาเงินกู้จึงยังไม่ขาดอายุความมรดก นายอังคาร(จำเลย)จึงมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินไว้ได้ ตามฎ.1416/2499

นอกจากนี้ สัญญากู้ยืมเงินยังไม่ขาดอายุความ 10 ปี เพราะมิได้ตกลงกำหนดวันชำระหนี้ไว้หนี้ย่อมถึงกำหนดชำระโดยพลัน อายุความ 10 ปีจึงเริ่มในวันถัดจากวันทำสัญญา กล่าวคือ เริ่มนับในวันที่ 16 มกราคม 2545 และจะครบกำหนด 10 ปีในวันที่ 15 มกราคม 2555 และจำเลยยื่นคำให้การในวันที่ 10 มกราคม 2555 สัญญากู้จึงยังไม่ขาดอายุความ จำเลยมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่พิพาท ตามฎ.8172/2551

ประเด็นเรื่องไม่เคยทวงถามก่อนฟ้อง ก็สามารถเขียนได้ แต่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญในคดี เพราะการฟ้องเรียกทรัพย์คืนไม่มีกฎหมายบังคับให้บอกกล่าวทวงถามก่อน อีกทั้งมิใช่การฟ้องให้ชำระเงินจึงไม่มีประเด็นเรื่องวันผิดนัดซึ่งจะนำมาคิดดอกเบี้ยผิดนัด

ส่วนประเด็นอื่นๆ ผมต้องขอดูข้อเท็จจริงเพิ่มเติม รบกวนช่วยแจ้งให้ทราบด้วย

หมายเหตุ :

  • หากข้อเท็จจริงผิดพลาดหรือบกพร่องช่วยแจ้งให้ทราบด้วย
  • สอบวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ?2555
  • ประกาศผลสอบ ?20 มีนาคม 2555

สถิติ

  • ผู้ฝึกงาน 1 ปี 2/53 ผู้สมัคร 1,865 คน สอบผ่าน 71 คน? คิดเป็น 3%
  • ผู้ ฝึกงาน 1 ปี 1/54 ผู้สมัคร 1,922 คน สอบผ่าน 124 คน คิดเป็น 7% (นักเรียนของสมาร์ทลอว์ติวเตอร์ สมัครเรียน 52 คน สอบผ่าน 8 คน คิดเป็น 15% มากกว่าเกณฑ์กลาง 2 เท่า)

สมัครติวสอบทนายความ กับ อ.เป้ สิททิกรณ์ ?ภาคทฤษฎี ?ภาคปฏิบัติ ?และผู้ฝึกงาน 1 ปี โทร.086-987-5678 หรือดูรายละเอียดที่ www.SmartLawTutor.com

******************************

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วปี 1/55

ข้อเท็จจริง

นายโท กุมภา มาหาท่านนายชอบ ยุติธรรม ทนายความ โดยเล่าให้ฟังว่า เมื่อปลายปี พ.ศ.2553 นายโท กุมภา ได้ทำสัญญากู้เงินนายเอก มกรา จำนวน 2,000,000 บาท โดยตกลงว่า นายโท กุมภา จะชำระดอกเบี้ยให้นายเอก มกรา ทุกวันสิ้นเดือน สัญญากู้ฉบับนี้ ไม่มีกำหนดชำระหนี้ แต่ในการกู้ครั้งนี้ นายโท กุมภาได้นำโฉนดบ้านและที่ดินเลขที่… ซึ่งมีราคาตามท้องตลาด 7,000,000 บาท ให้ไว้แก่นายเอก มกรา เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ พร้อมทั้งเตรียมเอกสารเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าว ให้ไว้แก่นายเอก มกรา ให้นายเอก มกราสามารถโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินได้ในทันทีที่นายโท กุมภาไม่ชำระหนี้

วันที่ 30 พ.ย. 2554 นายโท กุมภา ได้นำดอกเบี้ยมาชำระ นายเอก มกราจึงแจ้งแก่นายโท กุมภาว่า ต้องการให้นายโท กุมภา ชำระเงินต้นคืนในวันที่ 15 ธ.ค. 54 แต่นายโท กุมภา ไม่มีเงินชำระ จึงขอโฉนดบ้านและที่ดินคืนจากนายเอก มกรา เพื่อนำไปขายเอาเงินมาชำระหนี้ แต่นายเอก มกราไม่ยินยอม อีกทั้งยังตั้งนายหนึ่ง มกรา ไปโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินเป็นของนายเอก มกรา

ต่อมา นายโท กุมภาได้รับสำเนาคำฟ้องขับไล่ ให้นายโท กุมภาออกจากบ้านและที่ดินแปลงดังกล่าว

นอกจากนี้แล้ว เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 54 นายโท กุมภา ได้จอดรถจักรยานยนต์ไว้ แต่รถคันดังกล่าวได้หายไป นายโท กุมภา จึงไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวน ต่อมาปรากฏว่า พบรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวจอดอยู่ที่บ้านของนายสาม มีนา แต่นายสาม มีนาไม่ยอมให้การต่อสู้ใดๆเลย จะขอให้การในชั้นศาลเท่านั้น

วันที่ 21 ม.ค. 55 นายโท กุมภา ได้ตั้งท่านเป็นทนายความยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง พร้อมทั้งฟ้องอาญา เพื่อรักษาสิทธิตามกฎหมาย โดยหลังจากนั้นไม่นาน นายเอก มกราก็ถึงแก่ความตาย

คำสั่ง

– คำให้การและฟ้องแย้ง

– ฟ้องอาญา

– บัญชีพยาน

– คำแถลงขอปิดหมาย

– คำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกทายาทเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ

แนวคำตอบข้อคำให้การและฟ้องแย้ง

ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสองและวรรคสาม

ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมไซร้ หนี้อันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้น ท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ

ความตกลงกันอย่างใด ๆ ขัดกับข้อความดั่งกล่าวมานี้ท่านว่าเป็นโมฆะ

ฎ.351/2522 กู้เงินมีข้อสัญญาว่า ถ้าไม่ใช้เงินคืนตามกำหนดยอมโอนที่ดินตามโฉนดชำระหนี้ให้โดยไม่คำนึงถึงราคาที่ดิน ฝ่าฝืน มาตรา656 วรรค 2,3 บังคับให้โอนที่ดินชำระหนี้ไม่ได้

แนวคำตอบข้อคำฟ้องอาญา

ฎ.904/2511 ในฟ้องข้อ 1 โจทก์ไม่ได้ระบุว่าจำเลยเป็นผู้ลักทรัพย์ของกลาง โจทก์บรรยายไว้แต่เพียงว่ามีคนร้ายลักเอาไปแล้วจึงบรรยายต่อไปในข้อ 2 ว่า ทั้งนี้โดยจำเลยเป็นผู้ลักหรือมิฉะนั้นก็รับของโจรไว้ ซึ่งมิได้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองฐาน จึงไม่ขัดกัน ฟ้องของโจทก์เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว

ฎ.212/2504 โจทก์บรรยายฟ้องตอนต้นว่า จำเลยลักทรัพย์ ในตอนต่อมาบรรยายว่าจับทรัพย์ได้ที่จำเลย จำเลยจึงลักทรัพย์หรือรับของโจร ทรัพย์รายเดียวกันดังนี้ เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 แล้ว หาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2504)

************************

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วปี 2/55

ข้อสอบตั๋วปี 2/55 (16ธ.ค.55)

คำสั่ง

1.คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การ 8 คะแนน
2.คำร้องทุกข์ 10 คะแนน
3.คำให้การ 32 คะแนน
4.คำร้องวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย 20 คะแนน

แนวคำตอบข้อคำให้การ

1.จำเลยทั้งสามมีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท ให้แก่โจทก์ไปครบถ้วนแล้วและโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเกินความเสียหายที่แท้จริง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องให้แก่โจทก์ ( อนึ่ง การเจรจาชดใช้ค่าเสียหายตามข้อเท็จจริงนี้ไม่ใช่การทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะไม่มีข้อตกลงระงับข้อพิพาท เช่น ลดค่าเสียหาย และไม่ปรากฎว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้ต้องรับผิด)

2.จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่า คดีโจทก์ขาดอายุความละเมิดตามป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่งได้ เพราะจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดจึงไม่นำอายุความทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับกับจำเลยที่ 2 (หจก.ซึ่งเป็นนายจ้าง) และที่ 3 (หุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้เรื่องการทำละเมิดและรู้ตัวบุคคลที่ต้องรับผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามฎ.321/2550

ส่วนจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความเพราะจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิดและผู้กระทำความผิดอาญาจึงต้องนำอายุความทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ

ฎ.321/2550 การเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งให้นับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง นั้นหมายความเฉพาะการเรียกร้องจากตัวผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมในการกระทำผิดโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงผู้อื่นที่ไม่ได้ร่วมในการกระทำความผิดด้วย การเรียกร้องค่าเสียหายเอาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง จึงต้องใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า เหตุคดีนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2542 แต่โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีละเมิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545 หลังเกิดเหตุเป็นเวลา 3 ปีเศษ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ย่อมเป็นการแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้เป็นที่เข้าใจแล้วว่า นับแต่วันเกิดเหตุละเมิดถึงวันฟ้องคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ไปแล้ว คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงมีประเด็นเรื่องอายุความ

อ.เป้สอนฎีกานี้ในคอร์สพิเศษ อยู่ในชีทชุดที่ 10 การวินิจฉัยหลักกฎหมาย

แนวคำตอบข้อคำร้องวินิจฉัยชี้ขาดฯ

ในข้อนี้ต้องขอให้ศาลชี้ขาดข้อกฎหมายเรื่อง คดีขาดอายุความในส่วนของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3

ส่วนเรื่อง อำนาจฟ้อง?จะขอให้ศาลชี้ขาดข้อกฎหมายไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงยังไม่ยุติว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตามฟ้องจริงหรือไม่

************************

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วปี 2/53

1.อัตนัย 70 คะแนน

ข้อ 1. หนังสือให้คำปรึกษาทางกฎหมาย? 20? คะแนน

ข้อ 2. คำฟ้องแพ่ง (ละเมิด,ยืม)? 30 คะแนน

ข้อ 3. คำฟ้องอาญา (อนาจาร)? 15 คะแนน

ข้อ 4. ใบแต่งทนายความ 5 คะแนน

2. ปรนัย 30 คะแนน

********************************

อ่านต่อ