ความแตกต่างระหว่างหนังสือมอบอำนาจและใบมอบฉันทะ

กำลังเตรียมสอบทนายอยู่​รึป่าว​ มาร่วมกลุ่มนี้สิ​ “สอบทนาย​ by​ อ.เป้​ อ.ตูน” อยากรู้​อะไรก็ถามได้ Free​ แม้จะไม่ได้สมัครติวก็ตาม​ คลิ้กเข้ากลุ่มที่นี่

อ่านต่อ

เพราะเหตุใดในเช็คเราจึงจะต้องขีดฆ่าช่องผู้ถือออก เเละการขีดฆ่ากับไม่ขีดฆ่าช่องผู้ถือมีผลต่างกันอย่างไร

 คำถามที่ 1 เพราะเหตุใดในเช็คเราจึงจะต้องขีดฆ่าช่องผู้ถือออก

คำตอบ เพราะกรณีที่ “ต้องการให้เช็คเป็นเช็คระบุชื่อ” หากไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ในแบบฟอร์มเช็คออก เช็คนั้นจะกลายเป็น “เช็คผู้ถือ” ที่สามารถโอนได้โดยเพียงการส่งมอบ (หนังสือกฎหมายแพ่งพิสดาร เล่ม 3 หน้า 113)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2560จำเลยที่ 1 มอบเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้รับเงิน แต่มีข้อความตามแบบพิมพ์ว่า จ่าย… หรือผู้ถือ ถือได้ว่าเป็นเช็คที่สั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือจึงเป็นเช็คที่มีรายการตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988 (4) เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย การที่ อ. นำเช็คไปเรียกเก็บเงินและเขียนชื่อโจทก์หลังคำว่าจ่าย ไม่ทำให้เช็คพิพาทเสียไป โจทก์เป็นผู้ถือเช็คพิพาทไว้ในครอบครองย่อมเป็นผู้ทรงโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3764/2554 เช็คพิพาททั้งเจ็ดฉบับที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้สั่งจ่ายไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ”ออก จึงเป็นเช็คผู้ถือ ซึ่งสามารถโอนกันได้โดยเพียงการส่งมอบเมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับเช็คพิพาททั้งเจ็ดฉบับมาและนำมาสลักหลังชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้งเจ็ดฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาททั้งเจ็ดฉบับจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900

คำถามที่ 2 การขีดฆ่ากับไม่ขีดฆ่าช่องผู้ถือออกมีผลต่างกันอย่างไร

(เพิ่มเติม…)อ่านต่อ