ข้อสอบตั๋วทนาย ภาคปฏิบัติ รุ่น 38

25560307-102546.jpg

ในการอบรมภาคปฏิบัติ รุ่น 39 ของสภาทนายความ ที่ม.สยาม ผู้บรรยายได้นำข้อเท็จจริงจากข้อสอบภาคปฏิบัติ รุ่น 38 มาให้ผู้เข้าอบรมฝึกเขียน มีแนวคำตอบการวินิจฉัยข้อกฎหมายในข้อคำฟ้องแพ่งดังนี้ครับ

1.ข้อหา

– รับช่วงสิทธิ, ประกันภัย, เจ้าสำนักโรงแรม,ละเมิด

2.คู่ความ

– โจทก์ : บมจ.ประกันภัยแสนดี
– จำเลย :
1) บจก.สุขสบาย > เจ้าสำนักโรงแรม
2) หจก.มั่นคง > ผู้รับจ้างรักษาความปลอดภัย
3) นายมั่น > หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของหจก.มั่นคง
*** ไม่ฟ้อง หจก.มกรา (ผู้ยืม) นายจันทร์ มกรา (หุ้นส่วนผู้จัดการ) และนายพุธ มีนา (ลูกจ้าง)***

3.ค่าเสียหาย

A.ให้ชดใช้เงิน 800,000บาท
B.ดอกเบี้ยก่อนฟ้องอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงิน 800,000บาท นับแต่วันชดใช้คือวันที่ 6 ก.พ.55 คิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 5,000บาท
C.ทุนทรัพย์ 805,000บาท
D.ดอกเบี้ยหลังฟ้องอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป

เห็นได้ว่า แนวคำตอบของสภาทนายความตรงกับแนวคำตอบผมที่เฉลยไว้ใน www.ตั๋วทนาย.com

ผู้ที่สนใจสมัครติวสอบทนายความ ภาคปฏิบัติ รุ่น 39 กับ อ.เป้ & อ.ตูน ที่สาขาลาดพร้าว,รามคำแหง,บางแค สามารถเข้าไปดูรอบได้ที่ www.SmartLawTutor.com

สอบถาม/สมัครติวโทร 086-987-5678

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วทนาย ภาคปฏิบัติ รุ่น 39

คำถามและแนวคำตอบข้อสอบทนายความ ภาคปฏิบัติ รุ่น 39

คำฟ้องแพ่ง

1.ข้อหา

> ละเมิด, ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

2.คู่ความ

> โจทก์ : นายจันทร์ ในฐานะผู้ถือหุ้นของบจก.เริ่มรวย (ฎ.10878/51) หรือ บจก.เริ่มรวย โดยนายจันทร์ ผู้ถือหุ้น (ฎ.115/2535)

ฎ.10878/51 ตามคำฟ้องของโจทก์ (ผู้ถือหุ้น) เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท บ. ได้สมคบกันในการประชุมกรรมการบริษัทและมีมติให้ขายที่ดินให้แก่จำเลยทั้งแปดซึ่งเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัทและบุคคลภายนอกในราคาต่ำกว่าราคาประเมินและราคาตามท้องตลาดทำให้บริษัทเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท อันมีลักษณะเป็นการกล่าวอ้างว่ากรรมการทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท เมื่อปรากฏว่าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท บ. ย่อมมีอำนาจเอาคดีนี้ขึ้นว่ากล่าวฟ้องร้องแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง และโจทก์ย่อมมีอำนาจขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทโอนที่ดินทั้ง 25 แปลง คืนให้แก่บริษัท หรือหากไม่สามารถโอนคืนก็ให้ใช้ราคาที่ดินแทนได้ เพราะการคืนหรือใช้ราคาทรัพย์นั้นก็จัดเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. 438 วรรคสอง แต่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ซึ่งมิใช่กรรมการบริษัทรับผิดโอนที่ดินร่วม 19 แปลง คืนให้แก่บริษัทหรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทได้ เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง

ฎ.115/2535 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้แทน บริษัทโจทก์ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ (บริษัท) ป. ผู้ถือหุ้นของโจทก์ จึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีอาญาหรือแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้เมื่อ ป. ได้แจ้งความร้องทุกข์แล้วต่อมาได้ถอนคำร้องทุกข์ไม่ว่าป. จะดำเนินการในฐานะกระทำการแทนโจทก์หรือในฐานะผู้ถือหุ้นก็ตาม สิทธิที่โจทก์จะนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

> จำเลย : นายอังคาร และนายโท

3.ค่าเสียหาย & ดอกเบี้ย

A.ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 20,000,000บาท

ข้อสังเกต : เหตุที่คิด 20,000,000 บาท เป็นเพราะที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติแล้วว่าให้ขายที่ดินในราคาที่บริษัทได้ประโยชน์สูงสุด แม้ในขณะซื้อขายบจก.มีนาจะยังไม่ได้เสนอซื้อที่ดินในราคา 40,000,000 บาท แต่ข้อเท็จจริงระบุว่า ราคา 40,000,000 บาทเป็นราคาตามท้องตลาด ดังนั้น จำเลยทั้งสองย่อมทราบว่าในขณะซื้อขายที่ดินจะต้องขายในราคาสูงสุดก็คือ ราคาตามท้องตลาด 40,000,000 บาท มิใช่ราคาประเมินของสำนักงานที่ดิน 30,000,000 บาท และมิใช่ราคาที่ขายให้กับนายอาทิตย์ 20,000,000 บาท ดังนั้น โจทก์จึงสิทธิเรียกค่าสินไหมฯได้ 20,000,000 บาท

นอกจากนี้ โจทก์จะฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองกับนายอาทิตย์มิได้เพราะกฎหมายให้สิทธิไว้แต่เพียงฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมฯเท่านั้น (ฎ.2481/2552)

ฏ.2481/2552 มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. ให้อำนาจผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการผู้ทำให้บริษัทเสียหาย โดยเป็นการฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากกรรมการผู้ทำให้บริษัทได้รับความเสียหายเท่านั้น การที่โจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 (บุคคลภายนอก) และที่ 2 (บริษัท) โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 (กรรมการ) ได้คบคิดกันฉ้อฉล และให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนคืนที่ดินแก่จำเลยที่ 2 หาใช่เป็นการฟ้องเพื่อเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 3 ผู้เป็นกรรมการไม่ ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลภายนอกไม่ได้เป็นกรรมการ โจทก์ทั้งหกจึงไม่มีอำนาจฟ้องกรณีนี้

B.ดอกเบี้ยก่อนฟ้องคิดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันทำละเมิดซึ่งกรณีนี้ได้แก่วันจดทะเบียนซื้อขายที่ดิน กล่าวคือ วันที่ 16 ตุลาคม 2555 คิดถึงวันฟ้อง (15 พ.ย.55) เป็นเวลา 1 เดือน คิดเป็นเงิน 125,000 บาท

C.ทุนทรัพย์ 20,125,000 บาท

D.ดอกเบี้ยหลังฟ้องคิดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 20,000,000 บาท นับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป

อ่านแนวคำตอบแล้ว ขอให้ใจเย็นๆไว้ครับ รอประกาศผลสอบ 12 เม.ย.56 ชัดเจนที่สุดครับ

ช่วยกันคลิ้ก Like หรือ Share หรือ Tag ด้วยนะครับ

อ่านต่อ