ตอบกฎหมาย BY อาจารย์เป้

บุคคลที่ได้รับตั๋วเงินหลังจากถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ถือเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายที่มีสิทธิฟ้องให้ชำระเงินตามตั๋วเงินได้หรือไม่ และเป็นผู้เสียหายตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ หรือไม่

กรณีคดีแพ่ง

  • แม้เป็นบุคคลที่ได้รับตั๋วเงินหลังจากถูกปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ก็ถือเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 ประกอบ มาตรา 905

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2879/2536 เช็คอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือย่อมโอนให้แก่กันโดยการส่งมอบเมื่อโจทก์ได้รับเช็คไว้ในครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 แม้โจทก์จะสลักหลังโอนเช็คให้แก่บริษัท ท.และบริษัทท. นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ ซึ่งถือว่าบริษัท ท. เป็นผู้เสียหายในขณะเช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้รับเช็คคืนมา โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับผู้ทรงในการที่จะบังคับเอาแก่ผู้ที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตนตามป.พ.พ. มาตรา 967 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989วรรคแรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2537 แม้ขณะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ส. เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือเช็คผู้ถือ แต่เช็คพิพาทก็เป็นเช็คที่จำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น ตามป.พ.พ. มาตรา 900 และย่อมโอนให้แก่กันได้โดยส่งมอบตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918 ประกอบด้วยมาตรา 989 เมื่อโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาจาก ส. โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตามป.พ.พ. มาตรา 904 และได้รับโอนสิทธิในเช็คพิพาทจาก ส. โดยโจทก์ไม่จำต้องนำเช็คไปขึ้นเงินอีกครั้งหนึ่ง ก็มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินตามเช็คได้

กรณีคดีอาญา

  • ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯเกิดเป็นความผิดขึ้นในวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวจึงต้องเป็นผู้ทรงเช็คในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น บุคคลที่ได้รับโอนเช็คต่อมาหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เเม้จะถือเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ก็ตาม เเต่ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดดังกล่าวในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน บุคคลนั้นจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085-1088/2518 ประชุมใหญ่ จำเลยออกเช็ค 4 ฉบับ สั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือนำมาแลกเงินสดไปจากโจทก์โจทก์ได้รับแล้วเอาเช็คเหล่านั้นชำระหนี้ให้แก่ อ. และ ล.เมื่อถึงกำหนดสั่งจ่ายบุคคลทั้งสองเอาเช็คเข้าบัญชีของตน แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเอาเช็คมาคืนให้โจทก์และโจทก์ได้ชำระเงินให้บุคคลทั้งสองไป ดังนี้ เช็คทั้ง 4 ฉบับเป็นเช็คที่ออกให้แก่ผู้ถือย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน อ. และ ส. ได้รับเช็คทั้ง 4 ฉบับไว้จากโจทก์เป็นการชำระหนี้ อ. และ ล. จึงเป็นผู้ถือนับว่าเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย
ความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯเกิดเป็นความผิดขึ้นในวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งในวันนั้น อ. และ ล. จึงเป็นผู้เสียหายไม่ใช่โจทก์แม้เช็คทั้ง 4 ฉบับได้กลับมาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ภายหลังที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ก็เป็นผู้ถือหรือเป็นผู้ทรงภายหลังความผิดได้เกิดขึ้นแล้วการที่โจทก์จ่ายเงินชำระหนี้ให้ อ. และ ล. ไปจะถือเป็นการจ่ายเงินตามเช็คทั้ง 4 ฉบับหาได้ไม่ จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายในความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯไม่ได้

อ่านต่อ

เพราะเหตุใดในเช็คเราจึงจะต้องขีดฆ่าช่องผู้ถือออก เเละการขีดฆ่ากับไม่ขีดฆ่าช่องผู้ถือมีผลต่างกันอย่างไร

 คำถามที่ 1 เพราะเหตุใดในเช็คเราจึงจะต้องขีดฆ่าช่องผู้ถือออก

คำตอบ เพราะกรณีที่ “ต้องการให้เช็คเป็นเช็คระบุชื่อ” หากไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ในแบบฟอร์มเช็คออก เช็คนั้นจะกลายเป็น “เช็คผู้ถือ” ที่สามารถโอนได้โดยเพียงการส่งมอบ (หนังสือกฎหมายแพ่งพิสดาร เล่ม 3 หน้า 113)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2560จำเลยที่ 1 มอบเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้รับเงิน แต่มีข้อความตามแบบพิมพ์ว่า จ่าย… หรือผู้ถือ ถือได้ว่าเป็นเช็คที่สั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือจึงเป็นเช็คที่มีรายการตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988 (4) เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย การที่ อ. นำเช็คไปเรียกเก็บเงินและเขียนชื่อโจทก์หลังคำว่าจ่าย ไม่ทำให้เช็คพิพาทเสียไป โจทก์เป็นผู้ถือเช็คพิพาทไว้ในครอบครองย่อมเป็นผู้ทรงโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3764/2554 เช็คพิพาททั้งเจ็ดฉบับที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้สั่งจ่ายไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ”ออก จึงเป็นเช็คผู้ถือ ซึ่งสามารถโอนกันได้โดยเพียงการส่งมอบเมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับเช็คพิพาททั้งเจ็ดฉบับมาและนำมาสลักหลังชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้งเจ็ดฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาททั้งเจ็ดฉบับจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900

คำถามที่ 2 การขีดฆ่ากับไม่ขีดฆ่าช่องผู้ถือออกมีผลต่างกันอย่างไร

(เพิ่มเติม…)อ่านต่อ