ข้อสอบตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 41
คำถามและแนวคำตอบข้อสอบ ตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 41
โดย อาจารย์เป้ www.SmartLawTutor.com
ข้อเท็จจริงโดยย่อ
นายหนึ่งทำสัญญาว่าจ้างออกแบบและตกแต่งห้องชุดลงวันที่ 10 มิถุนายน 2555 กับบริษัทจันทร์ดีไซด์จำกัด มีนายพุธเป็นกรรมการผู้จัดการ ตกลงค่าจ้างกัน 3 ล้านบาท ตกลงในข้อสัญญาว่าให้ทำแล้วเสร็จภายใน 3 เดือนเริ่มทำเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2555 โดยถือเอากำหนด 3 เดือนเป็นสาระสำคัญ
นายหนึ่งได้จ้างสถาปนิกเป็นผู้ดูแล เมื่อเวลาผ่านไป 2 เดือนสถาปนิกแจ้งว่าบริษัทฯทำงานล่าช้า ใช้วัสดุต่ำกว่าคุณภาพที่ตกลงไว้ในสัญญา หากปล่อยให้บริษัทฯทำต่อไป จะทำให้เสร็จไม่ทันตามกำหนดตามสัญญา
นายหนึ่งให้ทนายความชื่อ นายตุลาทำหนังสือบอกเลิกสัญญาว่าจ้างดังกล่าว เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2555 เรียกเงินที่นายหนึ่งชำระไปแล้วบางส่วน 2 ล้าน และทำสัญญาใหม่จ้างบริษัทอื่นมาทำแทนเป็นเงิน 5 ล้าน เป็นค่ารื้อถอนเดิม 1ล้าน ค่าตกแต่ง 4ล้าน ทำให้ราคาเพิ่มจากสัญญาเดิม 2 ล้าน ทำให้นายหนึ่งเสียหาย 4 ล้าน ภายใน 7 วันนับแต่วันรับหนังสือบอกเลิกสัญญา ปรากฎว่าบริษัทฯได้รับหนังสือแล้วได้ขนย้ายของและคนออกแล้ว แต่ไม่คืนเงินพร้อมค่าเสียหาย
ระหว่างระยะเวลาหลังจากนายหนึ่งให้ทนายยื่นหนังสือบอกเลิกสัญญาบริษัทฯ จนถึงก่อนฟ้อง บริษัทฯได้ขนย้ายบริวารและเครื่องมือออกจากห้องชุดของนายหนึ่ง แต่นายดำและนายแดงซึ่งเป็นพนักงานบริษัทฯได้ใช้เหล็กทุบกระจกในบ้านค่าเสียหายคิดเป็นเงิน 500,000 บาท
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2555 ท่านยื่นฟ้องบริษัทฯ ให้ชดใช้ค่าเสียหาย 4 ล้านพร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระครบถ้วน
ในวันนัดชี้สองสถานบริษัทฯทำส.ประนีประนอมในศาล ว่ายอมรับตามฟ้องจะชดใช้ค่าเสียหายเปนเงิน 3 ล้านบาท โจทไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดจากจำเลยอีกค่าธรรมเนียมที่ศาลสั่งไม่คืนโจทก์และจำเลยตกลงให้เป็นพับ
คำสั่ง
ข้อ 1. คำฟ้องแพ่งและคำขอท้ายคำฟัองแพ่ง 35 คะแนน
ข้อ 2. สัญญาประนีประนอมยอมความ(ในศาล) 15 คะแนน
ข้อ 3. หนังสือบอกเลิกสัญญา 15 คะแนน
ข้อ 4. หนังสือมอบอำนาจร้องทุกข์ 10 คะแนน (ไม่ใช่คำร้องทุกข์เป็นหนังสือ)
ข้อ 5. คำร้องขอเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ 5 คะแนน
แนวคำตอบคำฟ้องแพ่ง
1.ข้อหา
> ผิดสัญญาจ้างทำของ
2.คู่ความ
> โจทก์ : นายหนึ่ง (ไม่มีการมอบอำนาจฟ้องคดีแพ่ง หากบรรยายว่ามอบอำนาจโดนหาร 2)
> จำเลย บจก.จันทร์ดีไซน์ (ไม่ฟ้องกรรมการเพราะโดยหลักแล้วกรรมการที่ทำสัญญาในขอบฯและถูกต้องตามข้อบังคับจะไม่ต้องรับผิดในหนี้ตามสัญญาของบริษัทฯ หากฟ้องกรรมการโดนหาร 2)
3.ค่าเสียหายและดอกเบี้ย
> A : ให้คืนเงินและชดใช้ค่าเสียหายรวม 4,000,000บ.
> B : ไม่คิดเพราะข้อสอบระบุว่าให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
> C : 4,000,000
> D : ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเงินแก่โจทก์ครบถ้วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ใกล้เคียง?
ฎ.1950/2515?กรรมการทำสัญญาในฐานะผู้แทนของบริษัทจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคล ไม่ต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัว
ฎ.133/2524?จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว.เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
หมายเหตุ
– หลักกฎหมายเกี่ยวกับการฟ้องบริษัทจำกัดและคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับ อ.เป้ได้เน้นให้ในห้องเรียนแล้วโดยอยู่ในชีทชุดที่ 2 คำฟ้องแพ่ง หน้า 53
– ข้อเท็จจริงที่กรรมการนำมาออกข้อสอบดัดแปลงมาจากข้อเท็จจริงที่ 1 เรื่องนายสมาน รักแต่งบ้าน ที่อ.เป้ใช้สอนการวินิจฉัยหลักกฎหมายในวันติวสรุปช่วงบ่าย
*********************************