การดำเนินคดีแพ่งของผู้เยาว์

ผู้เยาว์ หมายถึง บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เพราะยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือ ยังไม่ได้สมรสโดยได้รับอนุญาตจากศาล

ผู้เยาว์สามารถเป็นคู่ความในคดีแพ่งได้เช่นเดียวกับผู้ที่บรรลุนิติแล้ว กล่าวคือ ผู้เยาว์สามารถเป็นโจทก์และเป็นจำเลยในคดีแพ่งได้ แต่เนื่องจากผู้เยาว์ยังมีข้อบกพร่องในเรื่องอายุและประสบการณ์ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 56 จึงจำกัดสิทธิในการดำเนินคดีของผู้เยาว์ไว้?โดยกำหนดให้ทำได้ 2?รูปแบบ คือ

 

1. ผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องร้องดำเนินคดีแทนผู้เยาว์

?โจทก์เป็นผู้เยาว์มี นางสวย สีเหลือง เป็นมารดาชอบโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ มีอำนาจฟ้องร้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ได้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสูติบัตร เอกสารท้ายคำฟ้อง หมายเลข 1

?โจทก์เป็นผู้เยาว์มี นายหล่อ สีแดง เป็นบิดาชอบโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ มีอำนาจฟ้องร้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ได้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสูติบัตร และ ใบสำคัญการสมรสบิดามารดาโจทก์ เอกสารท้ายคำฟ้อง หมายเลข 1 และ 2

 

2. ผู้เยาว์ฟ้องร้องดำเนินคดีเองโดยได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

โจทก์เป็นผู้เยาว์มี นางสวย สีเหลือง เป็นมารดาชอบโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์และได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องร้องและดำเนินคดีนี้แล้ว รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสูติบัตรและหนังสือให้ความยินยอม เอกสารท้ายคำฟ้อง หมายเลข 1 และ 2

?โจทก์เป็นผู้เยาว์มี นายหล่อ สีแดง เป็นบิดาชอบโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์และได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องร้องและดำเนินคดีนี้แล้ว รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสูติบัตร ใบสำคัญการสมรสบิดามารดาโจทก์ และ หนังสือให้ความยินยอม เอกสารท้ายคำฟ้อง หมายเลข 1 ถึง 3

ส่วนกรณีเป็นจำเลย บุคคลซึ่งถูกโต้แย้งสิทธิสามารถฟ้องผู้เยาว์เป็นจำเลยได้เช่นกัน และ ไม่จำต้องบรรยายถึงบิดามารดาของผู้เยาว์แต่อย่างใด

**********************************************************

Write a comment