อ.เป้ : บทความตั๋วทนาย

การขอดูสมุดคำตอบตั๋วทนาย

อยากดู SmartLawTutor’s Channel คลิ้กที่นี่ !!!

เมื่อสภาทนายความประกาศผลสอบข้อเขียนแล้ว ผู้ที่สอบไม่ผ่านมีสิทธิขอดูสมุดคำตอบเพื่อดูข้อบกพร่องในการเขียนตอบข้อสอบของตนเองได้ ซึ่งมีวิธีการง่ายๆดังนี้

1.ให้เขียนคำร้องขอดูสมุดคำตอบที่สภาทนายความพร้อมนำบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวสอบไปแสดง

2.รอถึงกำหนดวันรับสมุดคำตอบ โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 7 วัน โดยผู้ยื่นคำร้องต้องขอรับสมุดคำตอบภายใน 30 วันนับแต่วันครบกำหนด

3.เมื่อถึงกำหนดแล้วให้ไปรับสมุดคำตอบได้เลย โดยให้นำบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวสอบไปแสดง สำหรับค่าใช้จ่ายจะมีเพียงค่าถ่ายเอกสารเท่านั้น

การขอดูสมุดคำตอบกับสภาทนายความนั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยากเลยเพียงแค่ไปเขียนคำร้องและรอเวลา 7 วันเท่านั้น

สำหรับนักเรียนที่สอบไม่ผ่านและสนใจสมัครติวตั๋วทนายกับผมที่สมาร์ทลอว์ติวเตอร์สามารถนำสมุดคำตอบตั๋วทนายมาให้ผมตรวจดูเพื่อช่วยหาข้อบกพร่องและแนะนำวิธีการปรับปรุงแก้ไขได้ครับ? สวัสดีครับ

********************

อ่านต่อ

เปลี่ยนแปลงคะแนนสอบ “ภาคปฏิบัติ”

ในการสอบข้อเขียน ตั๋วทนาย ภาคปฏิบัติ โดยปกติจะคะแนนสอบจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1.อัตนัย 80 คะแนน 2.ปรนัย 20 คะแนน 3.ฝึกงาน 110 คะแนน รวม 110 คะแนน ผู้ที่สอบได้ตั้งแต่ 55 ขึ้นไปถือว่าสอบผ่าน ซึ่งคะแนนแบบ 2 ส่วนนี้จะใช้ถึงการสอบภาคปฏิบัติ รุ่น 36 ซึ่งจะมีขึ้นช่วงสิ้นเดือนตุลาคม-ต้นเดือนพฤศจิกายน 2554 เท่านั้น

ในการสอบตั๋วทนาย ภาคปฏิบัติ ตั้งแต่รุ่น 37 เป็นต้นไป มีกระแสข่าวว่า สภาทนายความจะเปลี่ยนคะแนนสอบใหม่เหลือเพียง 2 ส่วนเท่านั้น คือ 1.อัตนัย 80 คะแนน และ 2.ปรนัย 20 คะแนน ไม่มีคะแนนฝึกงาน รวมเป็น 100 คะแนน ผู้สอบได้ตั้งแต่ 50 คะแนนขึ้นไปถือว่าสอบผ่าน (เหมือนกับคะแนนภาคทฤษฎี) แต่ทั้งนี้ ผู้สมัครยังคงต้องฝึกภาคปฏิบัติเป็นเวลา 6 เดือนและให้สำนักงานทนายความประเมิณผลการฝึกงานเช่นเดิม อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการจากสภาทนายความ

ที่มา : http://www.lawyerscouncil.or.th/2011/?name=webboard&file=read&id=3365

อ่านต่อ

แนวข้อสอบคดีไม่มีข้อพิพาท

คดีไม่มีข้อพิพาท

อ.เป้ สิททิกรณ์

“คดีไม่มีข้อพิพาท” หมายถึง คดีแพ่งที่บุคคลเสนอต่อศาลเพื่อใช้สิทธิทางศาลตามที่กฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิไว้

คดีไม่มีข้อพิพาทจะออกข้อสอบตั๋วทนาย 1 ?ข้อ ?ประมาณ 20 – 50 คะแนน เรื่องที่เคยออกข้อสอบ ได้แก่

  1. คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
  2. คำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ
  3. คำร้องขอให้ศาลถอนผู้จัดการมรดกและขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกแทน
  4. คำคัดค้านคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกและขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก

************************************

อ่านต่อ

การบรรยายคำขอท้ายคำฟ้องแพ่งกรณีฟ้องขับไล่

การบรรยายคำขอท้ายคำฟ้องแพ่งกรณีฟ้องขับไล่

อ.เป้ สิททิกรณ์

ในการฟ้องคดีขับไล่ทนายความมักจะบรรยายคำขอท้ายคำฟ้องแพ่งว่า “ให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่………….เลขที่ดิน……..ตำบล……อำเภอ……..จังหวัด……..เนื้อที่……….โดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้โจทก์หรือบุคคลภายนอกดำเนินการแทนโดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่าย”

มีประเด็นที่น่าสนใจว่าการบรรยายคำขอท้ายคำฟ้องแพ่งในลักษณะดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ???

โดยหลักแล้วการฟ้องบังคับให้จำเลยกระทำการ เจ้าหนี้สามารถขอให้ศาลบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการดังกล่าวแทนลูกหนี้โดยให้ลูกหนี้ออกค่าใช้จ่ายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรคสอง

มาตรา 213 ถ้า ลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตนเจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาล ให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้

เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้

ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอน การที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายและให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้

อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอา ค่าเสียหายไม่

โดยสภาพแล้ว การฟ้องขับไล่โดยมีคำขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทมีลักษณะเป็นคำขอให้กระทำการอย่างหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม กรณีฟ้องขับไล่ หากศาลพิพากษาให้ขับไล่หรือให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างแล้วลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมปฏิบัติตาม?ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ได้กำหนดขั้นตอนการบังคับคดีไว้โดยเฉพาะแล้วโดยกำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการเพื่อให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท

มาตรา 296ทวิ ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกพิพากษาให้ขับไล่ หรือต้องออกไปหรือ ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยหรือทรัพย์ที่ครอบครอง ถ้าลูกหนี้ ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์ดังกล่าว

เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในห้ามาตราต่อไปนี้

ดังนี้จึงมีประเด็นที่น่าพิจารณาว่า การบรรยายคำขอท้ายคำฟ้องแพ่งว่า “ให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่………….เลขที่ดิน……..ตำบล……อำเภอ……..จังหวัด……..เนื้อที่……….โดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้โจทก์หรือบุคคลภายนอกดำเนินการแทนโดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่าย” ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ในประเด็นนี้ ศาลฎีกาตัดสินว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิได้กำหนดขั้นตอนของการบังคับคดีกรณีฟ้องขับไล่ไว้โดยเฉพาะแล้วจึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติมาใช้บังคับไม่ได้

ฎ.2071/2552 ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับในกรณีที่ถูกพิพากษาให้ขับไล่ หรือต้องออกไปหรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าหากจำเลยไม่รื้อถอนต้นไม้ที่นำเข้าไปปลูก ให้โจทก์ดำเนินการแทน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

ฎ.3486/2542 โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่ดำเนินการรื้อถอนให้โจทก์หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้รื้อถอน โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่ได้ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามป.วิ.พ.มาตรา 296 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาจึงนำ ป.พ.พ.มาตรา 213 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติที่มิใช่บทบัญญัติในการบังคับคดี มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้

ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น การบรรยายคำขอท้ายคำฟ้องแพ่งกรณีฟ้องขับไล่ว่า “หากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้โจทก์หรือบุคคลภายนอกดำเนินการแทนโดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่าย” จึงไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ

ดังนั้น การบรรยายคำขอท้ายคำฟ้องแพ่งกรณีฟ้องขับไล่ที่ถูกต้องจึงควรบรรยายแต่เพียงว่า “ให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่………….เลขที่ดิน……..ตำบล……อำเภอ……..จังหวัด……..เนื้อที่……….โดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่าย” เท่านั้น

********************************

อ่านต่อ