นักเรียนคอร์สทนาย ภาคปฏิบัติ รุ่น 42 สาขาหาดใหญ่ (VDO) สอบผ่าน 92%

 

 

10409596_805081942908205_1501898177271263798_n

อ.ตูน : นักเรียนคอร์สติวสอบทนายความ ภาคปฏิบัติรุ่น 42 สาขาหาดใหญ่ เรียนกับ vdo สถิติสอบผ่านถึง 92% (ห้องเรียนรับได้ 13 คน สอบผ่าน 12 คน) ดีใจจริงๆค่ะ ที่ระบบ vdo ช่วยให้นักเรียนต่างจังหวัดมีโอกาสเข้าถึงได้ความรู้ง่ายขึ้น เพียงแค่เปิดใจ

เมื่อวานนี้นักเรียนสาขาหาดใหญ่บางส่วนที่สอบผ่านแล้ว เข้ามาทักทาย และขอบคุณ เลยเก็บภาพร่วมกันไว้เป็นที่ระลึกซักหน่อยค่ะ

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 41

คำถามและแนวคำตอบข้อสอบ ตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 41

โดย อาจารย์เป้ www.SmartLawTutor.com

1380440_511951902228735_1922070510_n

ข้อเท็จจริงโดยย่อ

นายหนึ่งทำสัญญาว่าจ้างออกแบบและตกแต่งห้องชุดลงวันที่ 10 มิถุนายน 2555 กับบริษัทจันทร์ดีไซด์จำกัด มีนายพุธเป็นกรรมการผู้จัดการ ตกลงค่าจ้างกัน 3 ล้านบาท ตกลงในข้อสัญญาว่าให้ทำแล้วเสร็จภายใน 3 เดือนเริ่มทำเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2555 โดยถือเอากำหนด 3 เดือนเป็นสาระสำคัญ

นายหนึ่งได้จ้างสถาปนิกเป็นผู้ดูแล เมื่อเวลาผ่านไป 2 เดือนสถาปนิกแจ้งว่าบริษัทฯทำงานล่าช้า ใช้วัสดุต่ำกว่าคุณภาพที่ตกลงไว้ในสัญญา หากปล่อยให้บริษัทฯทำต่อไป จะทำให้เสร็จไม่ทันตามกำหนดตามสัญญา

นายหนึ่งให้ทนายความชื่อ นายตุลาทำหนังสือบอกเลิกสัญญาว่าจ้างดังกล่าว เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2555 เรียกเงินที่นายหนึ่งชำระไปแล้วบางส่วน 2 ล้าน และทำสัญญาใหม่จ้างบริษัทอื่นมาทำแทนเป็นเงิน 5 ล้าน เป็นค่ารื้อถอนเดิม 1ล้าน ค่าตกแต่ง 4ล้าน ทำให้ราคาเพิ่มจากสัญญาเดิม 2 ล้าน ทำให้นายหนึ่งเสียหาย 4 ล้าน ภายใน 7 วันนับแต่วันรับหนังสือบอกเลิกสัญญา ปรากฎว่าบริษัทฯได้รับหนังสือแล้วได้ขนย้ายของและคนออกแล้ว แต่ไม่คืนเงินพร้อมค่าเสียหาย

ระหว่างระยะเวลาหลังจากนายหนึ่งให้ทนายยื่นหนังสือบอกเลิกสัญญาบริษัทฯ จนถึงก่อนฟ้อง บริษัทฯได้ขนย้ายบริวารและเครื่องมือออกจากห้องชุดของนายหนึ่ง แต่นายดำและนายแดงซึ่งเป็นพนักงานบริษัทฯได้ใช้เหล็กทุบกระจกในบ้านค่าเสียหายคิดเป็นเงิน 500,000 บาท

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2555 ท่านยื่นฟ้องบริษัทฯ ให้ชดใช้ค่าเสียหาย 4 ล้านพร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระครบถ้วน

ในวันนัดชี้สองสถานบริษัทฯทำส.ประนีประนอมในศาล ว่ายอมรับตามฟ้องจะชดใช้ค่าเสียหายเปนเงิน 3 ล้านบาท โจทไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดจากจำเลยอีกค่าธรรมเนียมที่ศาลสั่งไม่คืนโจทก์และจำเลยตกลงให้เป็นพับ

คำสั่ง

ข้อ 1. คำฟ้องแพ่งและคำขอท้ายคำฟัองแพ่ง 35 คะแนน
ข้อ 2. สัญญาประนีประนอมยอมความ(ในศาล) 15 คะแนน
ข้อ 3. หนังสือบอกเลิกสัญญา 15 คะแนน
ข้อ 4. หนังสือมอบอำนาจร้องทุกข์ 10 คะแนน (ไม่ใช่คำร้องทุกข์เป็นหนังสือ)
ข้อ 5. คำร้องขอเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ 5 คะแนน

แนวคำตอบคำฟ้องแพ่ง

1.ข้อหา

> ผิดสัญญาจ้างทำของ

2.คู่ความ

> โจทก์ : นายหนึ่ง (ไม่มีการมอบอำนาจฟ้องคดีแพ่ง หากบรรยายว่ามอบอำนาจโดนหาร 2)
> จำเลย บจก.จันทร์ดีไซน์ (ไม่ฟ้องกรรมการเพราะโดยหลักแล้วกรรมการที่ทำสัญญาในขอบฯและถูกต้องตามข้อบังคับจะไม่ต้องรับผิดในหนี้ตามสัญญาของบริษัทฯ หากฟ้องกรรมการโดนหาร 2)

3.ค่าเสียหายและดอกเบี้ย

> A : ให้คืนเงินและชดใช้ค่าเสียหายรวม 4,000,000บ.
> B : ไม่คิดเพราะข้อสอบระบุว่าให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
> C : 4,000,000
> D : ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเงินแก่โจทก์ครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ใกล้เคียง?

ฎ.1950/2515?กรรมการทำสัญญาในฐานะผู้แทนของบริษัทจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคล ไม่ต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัว

ฎ.133/2524?จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว.เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่

หมายเหตุ

– หลักกฎหมายเกี่ยวกับการฟ้องบริษัทจำกัดและคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับ อ.เป้ได้เน้นให้ในห้องเรียนแล้วโดยอยู่ในชีทชุดที่ 2 คำฟ้องแพ่ง หน้า 53

– ข้อเท็จจริงที่กรรมการนำมาออกข้อสอบดัดแปลงมาจากข้อเท็จจริงที่ 1 เรื่องนายสมาน รักแต่งบ้าน ที่อ.เป้ใช้สอนการวินิจฉัยหลักกฎหมายในวันติวสรุปช่วงบ่าย

*********************************

อ่านต่อ

การดำเนินคดีแพ่งของผู้เยาว์

ผู้เยาว์ หมายถึง บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เพราะยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือ ยังไม่ได้สมรสโดยได้รับอนุญาตจากศาล

ผู้เยาว์สามารถเป็นคู่ความในคดีแพ่งได้เช่นเดียวกับผู้ที่บรรลุนิติแล้ว กล่าวคือ ผู้เยาว์สามารถเป็นโจทก์และเป็นจำเลยในคดีแพ่งได้ แต่เนื่องจากผู้เยาว์ยังมีข้อบกพร่องในเรื่องอายุและประสบการณ์ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 56 จึงจำกัดสิทธิในการดำเนินคดีของผู้เยาว์ไว้?โดยกำหนดให้ทำได้ 2?รูปแบบ คือ

 

1. ผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องร้องดำเนินคดีแทนผู้เยาว์

?โจทก์เป็นผู้เยาว์มี นางสวย สีเหลือง เป็นมารดาชอบโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ มีอำนาจฟ้องร้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ได้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสูติบัตร เอกสารท้ายคำฟ้อง หมายเลข 1

?โจทก์เป็นผู้เยาว์มี นายหล่อ สีแดง เป็นบิดาชอบโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ มีอำนาจฟ้องร้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ได้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสูติบัตร และ ใบสำคัญการสมรสบิดามารดาโจทก์ เอกสารท้ายคำฟ้อง หมายเลข 1 และ 2

 

2. ผู้เยาว์ฟ้องร้องดำเนินคดีเองโดยได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

โจทก์เป็นผู้เยาว์มี นางสวย สีเหลือง เป็นมารดาชอบโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์และได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องร้องและดำเนินคดีนี้แล้ว รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสูติบัตรและหนังสือให้ความยินยอม เอกสารท้ายคำฟ้อง หมายเลข 1 และ 2

?โจทก์เป็นผู้เยาว์มี นายหล่อ สีแดง เป็นบิดาชอบโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์และได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องร้องและดำเนินคดีนี้แล้ว รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสูติบัตร ใบสำคัญการสมรสบิดามารดาโจทก์ และ หนังสือให้ความยินยอม เอกสารท้ายคำฟ้อง หมายเลข 1 ถึง 3

ส่วนกรณีเป็นจำเลย บุคคลซึ่งถูกโต้แย้งสิทธิสามารถฟ้องผู้เยาว์เป็นจำเลยได้เช่นกัน และ ไม่จำต้องบรรยายถึงบิดามารดาของผู้เยาว์แต่อย่างใด

**********************************************************

อ่านต่อ

คำร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การ

ข้อ 1. คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2556

เนื่องด้วยเจ้าพนักงานศาลได้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องของโจทก์ไว้ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยโดยชอบแล้วเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2556 ซึ่งครบกำหนดยื่นคำให้การเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2556 แต่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด จึงถือจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

โจทก์จึงขอศาลโปรดมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีจำเลยโดยขาดนัดยื่นคำให้การต่อไปด้วย ขอศาลโปรดอนุญาต

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

************

อ่านต่อ

การใช้แบบพิมพ์ศาล

ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผู้เข้าสอบตั๋วทนาย ภาคปฏิบัติ และ ตั๋วปี สอบไม่ผ่าน?ก็คือ การเลือกใช้แบบพิมพ์ศาลไม่ถูกต้อง?ดังนั้น ผมจึงเขียนบทความฉบับนี้ขึ้นเพื่อเป็นข้อแนะนำในการเลือกใช้แบบพิมพ์ศาล มีรายละเอียดดังนี้

  1. คำฟ้องแพ่ง : คำฟ้อง + 40ก. + คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
  2. คำฟ้องอาญา : คำฟ้อง + 40ก. + คำขอท้ายคำฟ้องอาญา
  3. คำร้อง,คำขอ,คำแถลง,คำบอกกล่าว : คำร้อง + 40ก.
  4. ใบแต่งทนาย : ใบแต่งทนาย
  5. บัญชีพยาน,บัญชีพยานเพิ่มเติม : บัญชีพยาน + บัญชีพยาน
  6. หนังสือ,คำร้องทุกข์,สัญญา,พินัยกรรม : A4
  7. คดีไม่มีข้อพิาท : คำร้อง + 40ก.
  8. คำให้การ,ฟ้องแย้ง : คำให้การ + 40ก.

ผมหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าสอบไม่มากก็น้อย ขอให้โชคดีในการสอบทุกคนครับ 😀

************

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 35

ข้อสอบตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 35

 

ข้อ 1. คำร้องทุกข์เป็นหนังสือ

ข้อ 2. หนังสือบอกกล่าวทวงถาม

ข้อ 3. คำฟ้องแพ่งและคำขอท้ายฟ้อง (ละเมิด)

ข้อ 4. คำแถลงขอส่งหมายทางไปรษณีย์

ข้อ 5. คำร้องขอรวมการพิจารณา

ข้อ 6. คำแถลงขอศาลออกนั่งบัลลังก์

**********

ฎีกาข้อคำฟ้องแพ่ง

ฎ. 734/2551 จำเลย ที่ 1 ทำสัญญากับจำเลยที่ 2 รับจ้างรักษาความปลอดภัยบริเวณภายในและภายนอกอาคารที่กำหนดรวมทั้งลานจอดรถ ของจำเลยที่ 3 โดยกำหนดให้ต้องรักษาความปลอดภัยด้านโจรกรรม และดูแลรถของลูกค้าหรือบุคคลภายนอกที่เข้ามาใช้บริการภายในศูนย์ไม่ให้เกิด ความเสียหาย ซึ่งในทางปฏิบัติจำเลยที่ 1 จะจัดให้มีพนักงานประจำที่ทางเข้าลานจอดรถเพื่อคอยมอบบัตรผ่านลานจอดรถและ เขียนหมายเลขทะเบียนกำกับไว้ก่อนมอบให้ผู้ที่จะนำรถเข้ามาจอด เมื่อจะนำรถออกผู้ขับรถจะต้องคืนบัตรผ่านลานจอดรถและชำระค่าบริการจอดรถให้ แก่พนักงานที่ประจำทางออกให้เสร็จเรียบร้อยก่อนจึงขับรถผ่านออกไปได้ ก. และ ว. ผู้เอาประกันภัยได้นำรถที่โจทก์รับประกันภัยเข้าไปจอดในลานจอดรถของอาคารดัง กล่าว และได้รับบัตรผ่านลานจอดรถจากพนักงานของจำเลยที่ 1 แต่ไม่ได้เขียนหมายเลขทะเบียนรถกำกับไว้จึงมีผู้นำรถยนต์พิพาทผ่านออกจากลาน จอดรถได้ โดยที่บัตรผ่านลานจอดรถและหลักฐานการเป็นเจ้าของรถยังอยู่กับ ว. ผู้เอาประกันภัย เหตุที่รถยนต์ของ ว. ผู้เอาประกันภัยสูญหายไปเกิดจากความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 ที่ไม่เขียนหมายเลขทะเบียนรถกำกับไว้ในบัตรผ่านลานจอดรถและไม่ตรวจสอบหลัก ฐานให้ละเอียดรอบคอบก่อนที่จะอนุญาตให้นำรถออกไป เป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ด้านหลังบัตรผ่านลาน จอดรถ ถือได้ว่าพนักงานของจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่เป็นเหตุให้รถยนต์ ของ ว. ผู้เอาประกันภัยสูญหาย ถือได้ว่าลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับประกันภัย
เงื่อนไขที่ระบุไว้ด้านหลังบัตรผ่านลานจอดรถที่ว่า การออกบัตรนี้ไม่ใช่เป็นการรับฝากรถ บริษัทฯ จะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายต่อรถใด ๆ ทั้งสิ้นเป็นเงื่อนไขที่จำเลยที่ 1 กำหนดขึ้นเพื่อให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดตามเงื่อนไขที่จำเลยที่ 1 กำหนดขึ้นแต่ฝ่ายเดียว ไม่มีผลเป็นการยกเว้นความรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิ

credit?: ขอบคุณ คุณ?Joey?(vanattapong@hotmail.com)

******************************

อ่านต่อ