ข้อสอบตั๋วปี 2/54

คำถามและแนวคำตอบ

ข้อสอบผู้ฝึกงาน 1 ปี 2/54

ข้อเท็จจริง

วันที่? 5 มกราคม 2555 นายอังคาร กุมภา มาพบท่านซึ่งเป็นทนายความชื่อ นายชอบ ยุติธรรม นำสำเนาคำฟ้องซึ่งคนรับใช้ในบ้านลงชื่อรับไว้แทนเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554 มาให้ท่านดูและเล่าว่า นายยอด มกรา เคยนำโฉนดที่ดินมามอบให้ไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ตามสัญญาเงินกู้ลงวันที่ 15 มกราคม 2545 ซึ่งนายยอด มกรา เคยกู้ยืมเงินไปจากตน 1,000,000 บาท ไม่มีกำหนดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย และนายยอด มกราก็ไม่เคยชำระเลยทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ตนก็ไม่เคยทวงถาม ตนเพิ่งทราบว่านายยอด มกรา ถึงแก่ความตายจากสำเนาคำฟ้องที่เพิ่งได้รับในวันนี้ เนื่องจากไปทำงานต่างจังหวัดตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2554 เพิ่งกลับมาวันนี้จึงรีบมาพบท่าน

นายอังคาร กุมภา เล่าว่าเมื่อยานวานนี้ได้รถยนต์ยี่ห้อ………รุ่น………..หมายเลขทะเบียน…………..ไว้ที่หน้าบ้าน เช้านี้พบว่ากระจกประตูหน้าด้านขวารถแตกและวิทยุในรถหายไป เสียหายเป็นเงิน 20,000 บาท

ในวันนั้น ท่านจึงทำคำร้องทุกข์ คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การ วันที่ 10 มกราคม 2555 ท่านยื่นคำให้การต่อสู้คดีและคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นปัญหาข้อกฎหมาย

(หมายเหตุ : ในคำฟ้องแพ่งข้อ 1. ระบุว่า โจทก์ทั้งสองและนายจันทร์เป็นผู้จัดการมรดกของนายยอด แต่นายจันทร์และนายยอดถึงแก่ความตายไปแล้ว )

คำสั่ง

ข้อ 1. คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การ ?8 ?คะแนน

ข้อ 2. คำร้องทุกข์เป็นหนังสือ ?8 ?คะแนน

ข้อ 3. คำให้การ ?34 คะแนน

ข้อ 4. คำร้องวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย 20 คะแนน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1754 ห้ามมิ ให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตาม พินัยกรรม

ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้ นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้อง ร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย

มาตรา 1755 อายุความหนึ่งปีนั้นจะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่โดยบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

ฎ.6857/2553 แม้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1715 วรรคสองบัญญัติว่า “เว้นแต่จะมีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถ้ามีผู้จัดการมรดกหลายคน แต่ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นบางคนไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่คนเดียวผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการได้โดย ลำพับ แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่หลายคนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้”?ก็มีความหมายถึงผู้ จัดการมรดกที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งขึ้นโดยไม่มีพินัยกรรม การที่ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน การกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 ที่ให้กระทำการโดยถือเอาเสียงข้างมาก หากปรากฏว่าผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย?ผู้จัดการมรดกที่ เหลือย่อมต้องร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อการฟ้องคดีเพื่อ จัดการทรัพย์มรดกเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามมาร ตรา 1736 วรรคสอง และมีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามคำ สั่งศาลกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคนต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 ที่กฎหมายได้กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจนำวิธีการตามมาตรา 1715 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เฉพาะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมมาใช้บังคับได้ ดังนั้น เมื่อ ป. ผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตาย โดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมจะจัดการมรดกต่อไปเพียงสองคนโดย ยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป ย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลและไม่มีอำนาจจะจัดการได้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

ฎ.8172/2551 เมื่อสัญญากู้เงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดอายุความการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

ฎ.229/2522 แม้จะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยนำสืบว่า โจทก์ได้กู้เงินจำเลยและได้มอบโฉนดที่ดินให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันการกู้ เงิน ตามสัญญากู้มิได้กำหนดวันชำระเงินไว้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่จะให้โจทก์ ชำระเงินตามสัญญากู้เริ่มนับตั้งแต่วันกู้เป็นต้นไป และมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นับตั้งแต่วันกู้เงินถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้วจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยไม่ขาดอายุความเพราะ เหตุใด เมื่อหนี้ที่จำเลยอาศัยเป็นมูลเหตุยึดถือโฉนดฉบับพิพาทของโจทก์ไว้ขาดอายุ ความเสียแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดไว้เป็นประกันหนี้นั้นต่อไป

การที่โจทก์กู้เงินและมอบโฉนดให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ ไม่เข้าลักษณะจำนำ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา189 จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดของโจทก์ไว้ต้องคืนให้โจทก์ (วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2521)

ฎ.1416/2499 มอบโฉนดที่ดินให้ผู้อื่นไปใช้ประกันจำเลยในคดีอาญาโดยผู้นั้นออกเงินจำนวนหนึ่งไปไถ่ถอนโฉนดนั้นมาจากการที่เจ้าของโฉนดไปวางประกันเงินกู้ไว้กับผู้มีชื่อและตกลงกันว่าเมื่อถอนประกันจำเลยแล้วเจ้าของโฉนดจะคืนเงินจำนวนที่ผู้นั้นออกไปไถ่ถอนโฉนดนั้นมาให้ ถ้ายังหาเงินให้ไม่ทัน ก็ให้ผู้นั้นยึดโฉนดไว้ก่อนดังนี้ ผู้นั้นย่อมมีสิทธิจะยึดโฉนดไว้ได้จนกว่าเจ้าของโฉนดจะปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ตกลงกัน

แนวคำตอบ

อำนาจฟ้อง ข้อเท็จจริงปรากฎว่า นายยอดซึ่งเป็นผู้กู้และได้ถึงแก่ความตายแล้วมีผู้จัดการมรดก 3 คน คือ นายจันทร์ นายหนึ่ง นายสอง แต่นายจันทร์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกคนหนึ่งได้ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ผู้จัดการมรดกที่เหลืออีกสองคนจึงไม่มีอำนาจจัดการมรดก รวมทั้งการฟ้องคดีมรดกด้วย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ตามฎ.6875/2553

สิทธิยึดหน่วง ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงว่า นายอังคาร(จำเลย)ทราบถึงแก่ความตายของนายยอดในวันที่เท่าไหร่? ข้อเท็จจริงปรากฎว่า นายอังคาร(จำเลย)ทราบว่านายยอดถึงแก่ความตายในวันที่มาพบทนายความคือวันที่ 5 มกราคม 2555 อายุความมรดก 1 ปีจึงเริ่มนับในวันดังกล่าว เมื่อนายอังคาร(จำเลย)ยื่นคำให้การในวันที่ 10 มกราคม 2555 หนี้ตามสัญญาเงินกู้จึงยังไม่ขาดอายุความมรดก นายอังคาร(จำเลย)จึงมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินไว้ได้ ตามฎ.1416/2499

นอกจากนี้ สัญญากู้ยืมเงินยังไม่ขาดอายุความ 10 ปี เพราะมิได้ตกลงกำหนดวันชำระหนี้ไว้หนี้ย่อมถึงกำหนดชำระโดยพลัน อายุความ 10 ปีจึงเริ่มในวันถัดจากวันทำสัญญา กล่าวคือ เริ่มนับในวันที่ 16 มกราคม 2545 และจะครบกำหนด 10 ปีในวันที่ 15 มกราคม 2555 และจำเลยยื่นคำให้การในวันที่ 10 มกราคม 2555 สัญญากู้จึงยังไม่ขาดอายุความ จำเลยมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่พิพาท ตามฎ.8172/2551

ประเด็นเรื่องไม่เคยทวงถามก่อนฟ้อง ก็สามารถเขียนได้ แต่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญในคดี เพราะการฟ้องเรียกทรัพย์คืนไม่มีกฎหมายบังคับให้บอกกล่าวทวงถามก่อน อีกทั้งมิใช่การฟ้องให้ชำระเงินจึงไม่มีประเด็นเรื่องวันผิดนัดซึ่งจะนำมาคิดดอกเบี้ยผิดนัด

ส่วนประเด็นอื่นๆ ผมต้องขอดูข้อเท็จจริงเพิ่มเติม รบกวนช่วยแจ้งให้ทราบด้วย

หมายเหตุ :

  • หากข้อเท็จจริงผิดพลาดหรือบกพร่องช่วยแจ้งให้ทราบด้วย
  • สอบวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ?2555
  • ประกาศผลสอบ ?20 มีนาคม 2555

สถิติ

  • ผู้ฝึกงาน 1 ปี 2/53 ผู้สมัคร 1,865 คน สอบผ่าน 71 คน? คิดเป็น 3%
  • ผู้ ฝึกงาน 1 ปี 1/54 ผู้สมัคร 1,922 คน สอบผ่าน 124 คน คิดเป็น 7% (นักเรียนของสมาร์ทลอว์ติวเตอร์ สมัครเรียน 52 คน สอบผ่าน 8 คน คิดเป็น 15% มากกว่าเกณฑ์กลาง 2 เท่า)

สมัครติวสอบทนายความ กับ อ.เป้ สิททิกรณ์ ?ภาคทฤษฎี ?ภาคปฏิบัติ ?และผู้ฝึกงาน 1 ปี โทร.086-987-5678 หรือดูรายละเอียดที่ www.SmartLawTutor.com

******************************

Write a comment