คะแนนสอบตั๋วทนาย

คะแนนสอบตั๋วทนาย

นักศึกษาที่เพิ่งสอบตั๋วทนายเป็นครั้งแรกอาจจะยังมีความสับสนเกี่ยวกับคะแนนสอบตั๋วทนายในแต่ละสนาม ผมจึงขอเขียนสรุปเป็นบทความสั้นๆไว้ ณ โอกาสนี้

1. ตั๋วรุ่น ภาคทฤษฎี

  • ตั๋วรุ่น ภาคทฤษฎี คะแนนสอบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. อัตนัย 80 คะแนน 2.ปรนัย 20 คะแนน รวม 100 คะแนน ถ้าสอบได้ตั้งแต่ 50 คะแนนขึ้นไปถือว่าสอบผ่าน

2. ตั๋วรุ่น ภาคปฏิบัติ

  • เมื่อสอบผ่านข้อเขียนตั๋วรุ่น ภาคทฤษฎีแล้ว ผู้สมัครต้องไปฝึกภาคปฏิบัติ 6 เดือน หลังจากนั้นต้องกลับมาสอบข้อเขียน ภาคปฏิบัติอีกครั้งหนึ่ง โดยในปัจจุบันคะแนนสอบข้อเขียนจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) อัตนัย 80 คะแนน 2) ปรนัย 20 คะแนน รวม 100 คะแนน สอบได้ตั้งแต่ 50 คะแนนขึ้นไปถือว่าสอบผ่าน

3. ตั๋วปี

  • ผู้สมัครตั๋วปีต้องเข้ารับการฝึกหัดงานในสำนักงานทนายความให้ครบ 1 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วต้องมาสอบข้อเขียน 1 ครั้ง คะแนนสอบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) อัตนัย 70 คะแนน 2) ปรนัย 30 คะแนน รวม 100 คะแนน ถ้าสอบได้ตั้งแต่ 50 คะแนนขึ้นไปถือว่าสอบผ่าน
  • การสอบตั๋วปีจะมีการข้อเขียนเพียงครั้งเีดียว และไม่มีคะแนนฝึกงาน

หมายเหตุ

  • “อัตนัย” หมายถึง ข้อสอบที่ให้เขียนเอกสารทางกฎหมาย เช่น คำฟ้องแพ่งอาญา,คำร้อง คำขอ คำแถลง, หนังสือ สัญญา, คดีไม่มีข้อพิพาท เป็นต้น
  • “ปรนัย” หมายถึง ข้อสอบกากบาทเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลต่างๆ มรรยาททนายความ เป็นต้น

ผมหวังว่าบทความนี้น่าจะพอให้ความกระจ่างเกี่ยวกับคะแนนสอบตั๋วทนายได้พอสมควร ถ้าผู้อ่านเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ ?ช่วยคลิกปุ่ม Like ด้านบนของบทความเพื่อเป็นกำลังใจ หรือจะบอกต่อเพื่อนด้วยการแชร์บทความนี้บน Facebook โดยคลิ้กปุ่ม Share ด้านบนของบทความ หรือจะแสดงความเห็นโดยคอมเม้นท์ไว้ด้านล่างก็ได้ครับ ขอบคุณที่ติดตามครับ 😀

*************

อ่านต่อ

อาจารย์เป้บรรยายประสบการณ์วิชาชีพกฎหมาย

คลิปวิดิโอ อ.เป้ สิททิกรณ์ ศิริจังสกุล ได้รับเชิญให้ไปบรรยายประสบการณ์วิชาชีพกฎหมายให้กับ นักศึกษานิติศาสตร์ มรภ.พระนคร เนื่องในวันรพี 53 มีทั้งหมด 3 คลิป

คลิปที่ 1 : แนะนำตัว,แนะนำการศึกษาต่อหลังจบปริญญาตรี

 

คลิปที่ 2 : แนะนำประสบการณ์วิชาชีพทนายความ,ที่ปรึกษากฎหมาย,อาจารย์พิเศษ,ติวเตอร์,ทำเว็บไซท์กฎหมาย

 

คลิปที่ 3 : แนะนำการประกอบอาชีพติวเตอร์, หน้าที่ 5 ประการของติวเตอร์กฎหมาย SmartLawTutor.com

 

อ่านต่อ

หนังสืออ่านสอบตั๋วทนาย

หนังสืออ่านสอบตั๋วทนาย

?

นักศึกษาที่เพิ่งสมัครตั๋วทนายครั้งแรกอาจยังไม่ทราบว่าต้องซื้อหนังสือมาอ่านเตรียมสอบทนายบ้าง ผมจึงรวบรวมรายชื่อหนังสือที่ใช้อ่านสอบตั๋วทนายไว้ในบทความนี้ครับ

1. คู่มือการฝึกอบรมวิชาว่าความ รวบรวมโดย : สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ (ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ตั๋วปี ต้องอ่าน)

2. สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ สภาทนายความ : รวมข้อสอบพร้อมแนวคำตอบการฝึกอบรมวิชาว่าความ ภาคทฤษฎี รุ่นที่ 16 – 33 เล่มสีน้ำเงิน (ภาคทฤษฎีต้องอ่าน)

3. สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ สภาทนายความ : รวมข้อสอบพร้อมแนวคำตอบการฝึกอบรมวิชาว่าความ ภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 16 – 32 เล่มสีแดง (ภาคปฏิบัติ/ตั๋วปีต้องอ่าน)

4. เสงี่ยม บุญจันทร์ : คู่มือเพื่อเตรียมตัวสอบภาคปฏิบัติว่าด้วย หลักการทำคำฟ้อง คำให้การ คำร้อง คำขอ คำแถลง คำบอกกล่าว ในกระบวนการพิจารณา (ภาคปฏิบัติ/ตั๋วปีต้องอ่าน)

5. จุติ สวนรักษา สรยุทธ บุญมี : คู่มือพิชิตใบอนุญาตทนายความ (อ่านเพิ่มเติม)

6. ศ.มารุต บุนนาค : วิชาว่าความและมรรยาททนายความ สำนักพิมพ์ิวิญญูชน (อ่านเพิ่มเติม)

ปล. หนังสือเล่มที่ 1 – 5 มีขายที่สภาทนายความ ส่วนเล่มที่ 6 มีขายตามร้านหนังสือทั่วไปครับ

สำหรับนักเรียนที่สมัครเรียนกับอ.เป้และอ.ตูนไม่จำเป็นต้องซื้อหนังสือดังกล่าวข้างต้น เพราะทางสถาบันมีชีทที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ ตรงกับแนวข้อสอบในปัจจุบัน มอบให้อยู่แล้วครับ

************************

อ่านต่อ

การมอบอำนาจฟ้องคดี

การมอบอำนาจฟ้องคดีสามารถทำได้ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา โดยผู้มอบอำนาจฟ้องคดีฐานะเป็น “โจทก์” ส่วนผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีมีฐานะเป็น “ผู้รับมอบอำนาจโจทก์”

กรณีที่มีการมอบอำนาจฟ้องคดีไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาจะต้องบรรยายสถานะคู่ความเสมอโดยระบุว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้บุคคลใด (ใสชื่อ-นามสกุล) เป็นผู้ฟ้องร้องและดำเนินคดีแทนพร้อมทั้งอ้างสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารท้ายคำฟ้อง อาทิเช่น

” ข้อ 1. คดีนี้โจทก์มอบอำนาจให้ นายหนึ่ง มกรา ฟ้องร้องและดำเนินคดีกับจำเลยแทนโจทก์ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 ”

” ข้อ 1. ในการฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ โจทก์ทั้งสองมอบอำนาจให้ นายสอง กุมภา เป็นผู้ดำเนินการแทน รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจ เอกสารท้ายคำฟ้อง หมายเลข 1″

อนึ่ง การมอบอำนาจฟ้องคดีเป็นคนละกรณีกับการแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดี การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีทำในหนังสือมอบอำนาจ ส่วนการแต่งทนายทำในใบแต่งทนายความ

**************

อ่านต่อ

คู่สมรสฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสโดยลำพังได้หรือไม่ ?

คำถาม : นายหล่อสมรสกับนางสวย ในระหว่างสมรสได้ซื้อรถยนต์มาหนึ่งคัน ปรากฎว่านายเมาได้ขับรถยนต์โดยประมาทมาชนรถยนต์อันเป็นสินสมรสของนายหล่อและนางสวยเสียหาย ใครจะเป็นโจทก์ฟ้องคดีได้บ้าง ?

คำตอบ

ป.พ.พ. มาตรา 1477 สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรส หรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส หนี้อันเกิดแต่การฟ้อง ต่อสู้หรือดำเนินคดีดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน

ตามป.พ.พ. มาตรา 1477 สามีหรือภริยามีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน และไม่จำต้องฟ้องคดีร่วมกันแต่อย่างใด ดังนั้น นายหล่อหรือนางสวยจึงเป็นโจทก์ฟ้องคดีเพียงคนเดียวได้ หรือทั้งสองคนจะเป็นโจทก์ร่วมกันก็ได้ กรณีเช่นนี้ในคำฟ้องแพ่งให้บรรยายสถานะคู่ความเรื่องการสมรสและสินสมรสด้วย

ฎ.812/2547 โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และภริยาซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1477 ถือว่าการที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทย่อมเป็นการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา

ตัวอย่างการบรรยาย

bbbbbข้อ1.โจทก์เป็นสามีชอบด้วยกฎหมายของนางสวย สดใส จดะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2550 ที่สำนักงานเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฎตามสำเนาใบสำคัญการสมรส เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1
bbbbbโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นวีออส สีดำ หมายเลขทะเบียน กข 1234 กรุงเทพมหานคร โดยโจทก์ซื้อมาเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2550 รถยนต์คันดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสของโจทก์กับนางสวย สดใส รายละเอียดปรากฎตามสำเนาใบคู่มือทะเบียนรถยนต์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2

***************************

อ่านต่อ