ข้อสอบตั๋วปี 1/54

เฉลยข้อสอบ ตั๋วปี 1/54

อ.เป้ สิททิกรณ์

> ข้อเท็จจริง

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 ?นายรวย แสนขสุขให้? นายหนึ่ง? มกรา กู้เงิน จำนวน 3,000,000 บาท เพื่อนำมาใช้ประกอบธุรกิจส่วนตัว??กำหนดชำระเงินต้นวันที่ 31 ธ.ค. 2553 ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ตกลงผ่อนชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน ในการทำสัญญาเงินกู้ นายสอง มกรา ทำสัญญาค้ำประกัน เพื่อประกันหนี้เงินกู้ของนายหนึ่ง มกรา โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม?? นอกจากนี้ นายหนึ่ง มกรา ได้นำที่ดิน โฉนดที่ดินเลขที่ 111 เลขที่ดิน 11 ตำบลสีลม อำเภอบางรัก พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น เลขที่ 22 ถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ นายหนึ่ง มกรา ?ต่อมานายหนึ่ง มกรา? ได้แต่งงานและจดทะเบียน กับนางจันทร์ มกรา เมื่อปี ?2540? ?ในการจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมดังกล่าวนายจันทร์ ได้ให้ความยินยอมแนบท้ายสัญญาเงินกู้ดังกล่าว ?นางจันทร์ มกรา ซึ่งเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของนายหนึ่ง มกรา ลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ยืมเงินและให้ความยินยอมในสัญญาจำนองโดยมีข้อสัญญา ? ?ต่อมานายหนึ่ง มกรา ชำระเฉพาะดอกเบี้ยทุกเดือน จนถึงงวดเดือน 31 ธันวาคม 2553 และไม่ชำระหนี้เงินต้นตามสัญญา

วันที่ 25 เมษายน 2553 นายสี่ เมษาได้เล่าให้นายรวย แสนสุข ว่าตนเดินผ่านหน้าบ้านนายหนึ่ง มกรา เห็นนายห้า พฤษภา คุยอยู่กับนาย หนึ่ง มกรา จึงเดินเข้าไปทักทาย นายหนึ่ง มกรา ได้บอกกับคนทั้งสองว่า??ไอ้รวย แสนสุขมันหน้าเลือดขูดรีดคนจน มันออกเงินกู้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 20 ต่อเดือน เมื่อปีที่แล้วมันคิดกูร้อยละ 12 ต่อเดือน แล้วตามทวงทุกวัน อย่าไปคบหากับมัน? ?นายสี่มาเล่าให้นายรวย แสนสุข ฟังก็เลยอธิบายไปว่าไม่เคยคิดดอกแพงขนาดนั้น นี่ให้กู้ไปตั้งนานแล้วนายหนึ่งก็ยังไม่นำเงินมาคืนเลย

วันที่ 5 พฤษภาคม 2554 ท่านจึงทำหนังสือให้คำปรึกษาทางกฏหมายให้กับนายรวย แสนสุขในส่วนสิทธิในการได้รับชำระหนี้และการบังคับจำนองเพื่อประกอบการตัดสินใจในการฟ้องคดี

วันที่ 6 พฤษภาคม 2554 ท่านได้ทำหนังสือบอกกล่าวทวงถามและไถ่ถอนจำนองให้แก่ผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกันทุกคนในหนังสือฉบับเดียวกันโดยให้มาดำเนินการดังกล่าวภายใน 15 วันแต่ทุกคนได้รับแล้วเพิกเฉย

วันที่ 31 พฤษภาคม 2554 ท่านได้ยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งเป็นคดีดำเลขที่ ??123/2554??.ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และได้ยื่นฟ้องนายหนึ่ง มกราเป็นคดีอาญาที่ศาลแขวงพระโขนงเป็นคดีดำเลขที่? 234/2554

> คำสั่ง

ข้อ 1.หนังสือให้คำปรึกษาทางกฎหมาย 18 คะแนน
ข้อ 2. หนังสือทวงถาม (ถึงผู้ต้องรับผิดทุกคนในฉบับเดียวกัน) 10 คะแนน
ข้อ 3. คำฟ้องแพ่ง (ผิดสัญญากู้ยืมเงิน,หนี้ร่วม,ค้ำประกัน,จำนอง) 30 คะแนน
ข้อ 4. คำฟ้องอาญา (หมิ่นประมาท) 12 คะแนน

> หลักกฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามี หรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
(1)
หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบ ครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและ การศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2)
หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3)
หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4)
หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้ให้สัตยาบัน

> คำพิพากษาศาลฎีกา

ฎ.5848/2550 จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอม โดยระบุว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อและจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และกู้ยืมเงินจากโจทก์ได้โดยไม่คัดค้าน ดังนี้ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมรับรู้หนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีได้ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวในระหว่างสมรสและจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 (4) ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องร่วมกันรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวแก่โจทก์

ฎ.6829/2551 จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์และทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว โดยมีข้อสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่า หากโจทก์บังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบ จำเลยที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินดังกล่าว เป็นการร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นและได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) จำเลยที่ 2 ในฐานะภริยาต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นสามีรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย

ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติเพียงว่า ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวนั้น มิได้บัญญัติบังคับว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือด้วยการมอบอำนาจให้ทนายความบอกกล่าวบังคับจำนองจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือตามมาตรา 798 วรรคหนึ่ง

> แนวคำตอบ

คำฟ้องแพ่ง

ข้อหา : ?ผิดสัญญากู้ยืมเงิน,จำนอง,ค้ำประกัน,หนี้ร่วม

คู่ความ : โจทก์ 1 คน คือ นายรวย แสนสุข /?จำเลย 3 คน คือ นายหนึ่ง มกรา, นางจัทร์ มกรา, นางสอง มกรา ( ภริยาต้องรับผิดด้วยเพราะเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1490(4) )

ทุนทรัพย์ :

A = เงินต้น 3,000,000 บาท และ ขอบังคับจำนองกับที่ดินและอาคารพาณิชย์

B = ดอกเบี้ยก่อนฟ้องคิดอัตราร้อยละ 12 ต่อปี (ตามข้อสัญญา) ของเงินต้น 3,000,000 บาท นับตั้งแต่ 31 มกราคม 2553 ถึงวันฟ้อง (31 พฤษภาคม 2554) เป็นเวลา 5 เดือน คิดเป็นเงิน 150,000 บาท

C = ทุนทรัพย์ 3,150,000 บาท

D = ดอกเบี้ยหลังฟ้องอัตราร้อยละ 12 ต่อปีของเงินต้น 3,000,000 บาท นับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะร่วมกันหรือแทนกันชำระแก่โจทก์ครบถ้วน (รอฟังข้อเท็จจริงให้ครบ)

คำฟ้องอาญา

-?ข้อหา : ? ?หมิ่นประมาท ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326

เทคนิคการบรรยายฟ้องข้อหาหมิ่นประมาท

1. ให้เขียนข้อความที่เป็นหมิ่นประมาทในเครื่องหมาย “……………………….”

2. ต้องอธิบายความหมายของข้อความที่เป็นหมิ่นประมาท

3. ต้องบรรยายว่าข้อความนั้นไม่จริงอย่างไร

4. ต้องบรรยายว่า ข้อความนั้นทำโจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือ ถูกเกลียดชัง อย่างไร

คู่ความ : โจทก์ 1 คน คือ นายรวย แสนสุข,?จำเลย 1 คน คือ นายหนึ่ง มกรา (ผู้กระทำ)

ทุนทรัพย์ : ไม่มี (ข้อเท็จจริงมิได้กำหนดให้เรียกค่าเสียต่อชื่อเสียง)

หมายเหตุ

ถ้ามีข้อเท็จจริงส่วนใดขาดตกบกพร่องหรือมีข้อผิดพลาดช่วยแจ้งให้ทราบด้วยครับ เพราะอาจจะทำให้ผลของการวินิจฉัยข้อกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป

*****************************************

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วปี 2/54

คำถามและแนวคำตอบ

ข้อสอบผู้ฝึกงาน 1 ปี 2/54

ข้อเท็จจริง

วันที่? 5 มกราคม 2555 นายอังคาร กุมภา มาพบท่านซึ่งเป็นทนายความชื่อ นายชอบ ยุติธรรม นำสำเนาคำฟ้องซึ่งคนรับใช้ในบ้านลงชื่อรับไว้แทนเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554 มาให้ท่านดูและเล่าว่า นายยอด มกรา เคยนำโฉนดที่ดินมามอบให้ไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ตามสัญญาเงินกู้ลงวันที่ 15 มกราคม 2545 ซึ่งนายยอด มกรา เคยกู้ยืมเงินไปจากตน 1,000,000 บาท ไม่มีกำหนดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย และนายยอด มกราก็ไม่เคยชำระเลยทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ตนก็ไม่เคยทวงถาม ตนเพิ่งทราบว่านายยอด มกรา ถึงแก่ความตายจากสำเนาคำฟ้องที่เพิ่งได้รับในวันนี้ เนื่องจากไปทำงานต่างจังหวัดตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2554 เพิ่งกลับมาวันนี้จึงรีบมาพบท่าน

นายอังคาร กุมภา เล่าว่าเมื่อยานวานนี้ได้รถยนต์ยี่ห้อ………รุ่น………..หมายเลขทะเบียน…………..ไว้ที่หน้าบ้าน เช้านี้พบว่ากระจกประตูหน้าด้านขวารถแตกและวิทยุในรถหายไป เสียหายเป็นเงิน 20,000 บาท

ในวันนั้น ท่านจึงทำคำร้องทุกข์ คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การ วันที่ 10 มกราคม 2555 ท่านยื่นคำให้การต่อสู้คดีและคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นปัญหาข้อกฎหมาย

(หมายเหตุ : ในคำฟ้องแพ่งข้อ 1. ระบุว่า โจทก์ทั้งสองและนายจันทร์เป็นผู้จัดการมรดกของนายยอด แต่นายจันทร์และนายยอดถึงแก่ความตายไปแล้ว )

คำสั่ง

ข้อ 1. คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การ ?8 ?คะแนน

ข้อ 2. คำร้องทุกข์เป็นหนังสือ ?8 ?คะแนน

ข้อ 3. คำให้การ ?34 คะแนน

ข้อ 4. คำร้องวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย 20 คะแนน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1754 ห้ามมิ ให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตาม พินัยกรรม

ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้ นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้อง ร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย

มาตรา 1755 อายุความหนึ่งปีนั้นจะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่โดยบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

ฎ.6857/2553 แม้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1715 วรรคสองบัญญัติว่า “เว้นแต่จะมีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถ้ามีผู้จัดการมรดกหลายคน แต่ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นบางคนไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่คนเดียวผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการได้โดย ลำพับ แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่หลายคนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้”?ก็มีความหมายถึงผู้ จัดการมรดกที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งขึ้นโดยไม่มีพินัยกรรม การที่ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน การกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 ที่ให้กระทำการโดยถือเอาเสียงข้างมาก หากปรากฏว่าผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย?ผู้จัดการมรดกที่ เหลือย่อมต้องร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อการฟ้องคดีเพื่อ จัดการทรัพย์มรดกเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามมาร ตรา 1736 วรรคสอง และมีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามคำ สั่งศาลกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคนต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 ที่กฎหมายได้กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจนำวิธีการตามมาตรา 1715 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เฉพาะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมมาใช้บังคับได้ ดังนั้น เมื่อ ป. ผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตาย โดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมจะจัดการมรดกต่อไปเพียงสองคนโดย ยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป ย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลและไม่มีอำนาจจะจัดการได้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

ฎ.8172/2551 เมื่อสัญญากู้เงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดอายุความการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

ฎ.229/2522 แม้จะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยนำสืบว่า โจทก์ได้กู้เงินจำเลยและได้มอบโฉนดที่ดินให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันการกู้ เงิน ตามสัญญากู้มิได้กำหนดวันชำระเงินไว้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่จะให้โจทก์ ชำระเงินตามสัญญากู้เริ่มนับตั้งแต่วันกู้เป็นต้นไป และมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นับตั้งแต่วันกู้เงินถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้วจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยไม่ขาดอายุความเพราะ เหตุใด เมื่อหนี้ที่จำเลยอาศัยเป็นมูลเหตุยึดถือโฉนดฉบับพิพาทของโจทก์ไว้ขาดอายุ ความเสียแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดไว้เป็นประกันหนี้นั้นต่อไป

การที่โจทก์กู้เงินและมอบโฉนดให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ ไม่เข้าลักษณะจำนำ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา189 จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดของโจทก์ไว้ต้องคืนให้โจทก์ (วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2521)

ฎ.1416/2499 มอบโฉนดที่ดินให้ผู้อื่นไปใช้ประกันจำเลยในคดีอาญาโดยผู้นั้นออกเงินจำนวนหนึ่งไปไถ่ถอนโฉนดนั้นมาจากการที่เจ้าของโฉนดไปวางประกันเงินกู้ไว้กับผู้มีชื่อและตกลงกันว่าเมื่อถอนประกันจำเลยแล้วเจ้าของโฉนดจะคืนเงินจำนวนที่ผู้นั้นออกไปไถ่ถอนโฉนดนั้นมาให้ ถ้ายังหาเงินให้ไม่ทัน ก็ให้ผู้นั้นยึดโฉนดไว้ก่อนดังนี้ ผู้นั้นย่อมมีสิทธิจะยึดโฉนดไว้ได้จนกว่าเจ้าของโฉนดจะปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ตกลงกัน

แนวคำตอบ

อำนาจฟ้อง ข้อเท็จจริงปรากฎว่า นายยอดซึ่งเป็นผู้กู้และได้ถึงแก่ความตายแล้วมีผู้จัดการมรดก 3 คน คือ นายจันทร์ นายหนึ่ง นายสอง แต่นายจันทร์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกคนหนึ่งได้ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ผู้จัดการมรดกที่เหลืออีกสองคนจึงไม่มีอำนาจจัดการมรดก รวมทั้งการฟ้องคดีมรดกด้วย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ตามฎ.6875/2553

สิทธิยึดหน่วง ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงว่า นายอังคาร(จำเลย)ทราบถึงแก่ความตายของนายยอดในวันที่เท่าไหร่? ข้อเท็จจริงปรากฎว่า นายอังคาร(จำเลย)ทราบว่านายยอดถึงแก่ความตายในวันที่มาพบทนายความคือวันที่ 5 มกราคม 2555 อายุความมรดก 1 ปีจึงเริ่มนับในวันดังกล่าว เมื่อนายอังคาร(จำเลย)ยื่นคำให้การในวันที่ 10 มกราคม 2555 หนี้ตามสัญญาเงินกู้จึงยังไม่ขาดอายุความมรดก นายอังคาร(จำเลย)จึงมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินไว้ได้ ตามฎ.1416/2499

นอกจากนี้ สัญญากู้ยืมเงินยังไม่ขาดอายุความ 10 ปี เพราะมิได้ตกลงกำหนดวันชำระหนี้ไว้หนี้ย่อมถึงกำหนดชำระโดยพลัน อายุความ 10 ปีจึงเริ่มในวันถัดจากวันทำสัญญา กล่าวคือ เริ่มนับในวันที่ 16 มกราคม 2545 และจะครบกำหนด 10 ปีในวันที่ 15 มกราคม 2555 และจำเลยยื่นคำให้การในวันที่ 10 มกราคม 2555 สัญญากู้จึงยังไม่ขาดอายุความ จำเลยมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่พิพาท ตามฎ.8172/2551

ประเด็นเรื่องไม่เคยทวงถามก่อนฟ้อง ก็สามารถเขียนได้ แต่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญในคดี เพราะการฟ้องเรียกทรัพย์คืนไม่มีกฎหมายบังคับให้บอกกล่าวทวงถามก่อน อีกทั้งมิใช่การฟ้องให้ชำระเงินจึงไม่มีประเด็นเรื่องวันผิดนัดซึ่งจะนำมาคิดดอกเบี้ยผิดนัด

ส่วนประเด็นอื่นๆ ผมต้องขอดูข้อเท็จจริงเพิ่มเติม รบกวนช่วยแจ้งให้ทราบด้วย

หมายเหตุ :

  • หากข้อเท็จจริงผิดพลาดหรือบกพร่องช่วยแจ้งให้ทราบด้วย
  • สอบวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ?2555
  • ประกาศผลสอบ ?20 มีนาคม 2555

สถิติ

  • ผู้ฝึกงาน 1 ปี 2/53 ผู้สมัคร 1,865 คน สอบผ่าน 71 คน? คิดเป็น 3%
  • ผู้ ฝึกงาน 1 ปี 1/54 ผู้สมัคร 1,922 คน สอบผ่าน 124 คน คิดเป็น 7% (นักเรียนของสมาร์ทลอว์ติวเตอร์ สมัครเรียน 52 คน สอบผ่าน 8 คน คิดเป็น 15% มากกว่าเกณฑ์กลาง 2 เท่า)

สมัครติวสอบทนายความ กับ อ.เป้ สิททิกรณ์ ?ภาคทฤษฎี ?ภาคปฏิบัติ ?และผู้ฝึกงาน 1 ปี โทร.086-987-5678 หรือดูรายละเอียดที่ www.SmartLawTutor.com

******************************

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วทนาย ภาคปฏิบัติ รุ่น 36

คำถาม

นายหนึ่ง มกรา ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 22 เลขที่ดิน 2 ตำบลจอมพล อำเภอจตุจักร กทม. เนื้อที่ 2 ไร่ ซื้อเมื่อปี 2520 ที่ดินแปลงนี้ไม่มีทางเข้าออก

นายหนึ่งจึงทำถนนดินบนที่ดินแปลงติดกันเพื่อใช้เป็นทางเข้าออก

ต่อมาปี 2540 นายหนึ่งได้ขออนุญาตในการก่อสร้างโกดังสินค้า และปรับปรุงถนนเป็นถนนคอนกรีตขนาดกว้าง 6 เมตร ในการก่อสร้างคราวเดียวกันและใช้เป็นทางเข้าออกเพื่อขนส่งสินค้าเรื่อยมา โดยเปิดเผยและไม่มีผู้ใดขัดขวาง

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 55 นายเอก มกราน้องชายนายหนึ่ง เห็นว่ามีคนงานกำลังก่อสร้างแนวกำแพงคอนกรีตเพื่อปิดถนนทางเข้าออก สอบถามคนงานได้ความว่า นายพุธ มีนาเป็นคนจ้างให้ทำ

นายเอก มกราน้องชายนายหนึ่ง จึงไปหานายพุธ มีนา ซึ่งเป็นผจก.ที่ดินแปลงนี้ นายพุธ แจ้งว่า นายอังคาร กุมภาเป็นเจ้าของที่ดิน ที่ดินโฉนดเลขที่ 11 เลขที่ดิน 1 ตำบลจอมพล อำเภอจตุจักร กทม. เนื้อที่ 4 ไร่ ซื้อเมื่อปี 2553 ตนได้เห็นว่ามีการทำถนนบนที่ดินของนายอังคาร จึงได้ทำการก่อกำแพงปิดถนนและไม่ต้องการให้ใครใช้ โดยได้แจ้งให้นายอังคารทราบและเห็นชอบแล้ว

ในวันเดียวกัน นายหนึ่ง มกราและนายเอก มกราได้ ไปพบนายพุธ และนายอังคาร เพื่อขอให้รื้อกำแพง ทั้งสองไม่ยอม

นายหนึ่งไม่สามารถนำสินค้าออกจากโกดังเพื่อส่งให้ลูกค้าได้ ทำให้ต้องไปเช่าโกดังแห่งอื่นเพื่อใช้เก็บสินค้า ทำให้ต้องเสียค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นเป็นรายวันๆละ 10,000บาท นับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 55เป็นต้นมา

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 55 นายหนึ่งได้มาหานายชอบ ยุติธรรมทนายความ เพื่อเล่าเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้น และยังเล่าอีกว่าเมื่อวานนี้ เวลา 20.00 น. นายพฤหัส เมษา ที่เคยเป็นลูกจ้างของนายหนึ่ง มกรา ได้แวะมาหาที่บ้าน และได้แอบเอาบัตรATMของธนาคารกรุงเทพ ที่ออกให้แก่ตนไป และนำไปถอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์ของตนเป็นจำนวน 40,000บาท ที่ตู้ ATM ข้างบ้านนายหนึ่ง และได้หลบหนีไป

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 55 นายหนึ่งยื่นคำฟ้องแพ่งเพื่อให้รื้อแนวกำแพงและให้นายอังคารจดทะเบียนภาระจำยอมให้นายหนึ่งได้ใช้ถนน และเรียกค่าเสียหายดังกล่าว พร้อมยื่นบัญชีระบุพยานและยื่นคำขอคุ้มครองชั่วคราวไปในคราวเดียวกัน และได้แต่งตั้งท่านเป็นทนายยื่นฟ้องนายพฤหัส เมษาในคดีอาญาทุกข้อกล่าวหา ให้มีอำนาจจำหน่ายสิทธิและดำเนินคดีถึงที่สุด

คำสั่ง

1.คำฟ้องแพ่ง (ไม่ต้องคิดดอกเบี้ย) 36 คะแนน
2.คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา 16 คะแนน
3.คำฟ้องอาญา 16 คะแนน
4.บัญชีพยาน 7 คะแนน
5.ใบแต่งทนายความ 5 คะแนน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1387 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภารจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงด เว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น

มาตรา 1401 ภารจำยอมอาจได้มาโดยอายุความ ท่านให้นำบทบัญญัติ ว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบ ครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกัน เป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์

มาตรา 427 บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น (มาตรา 425,426) ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วยโดยอนุโลม

มาตรา 425 นายจ้าง (ตัวการ) ต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้าง (ตัวแทน) ในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง (ในกิจการที่ได้รับมอบหมาย)

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 188 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือ ทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งพินัยกรรมหรือเอกสารใดของผู้อื่น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวม อยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท

มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์

(1) ในเวลากลางคืน

(8) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้ บริการสาธารณที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ ในสถานที่นั้น

มาตรา 269/5 ผู้ใดใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 269/7 ถ้าการกระทำดังกล่าวในหมวดนี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับบัตร อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสด หรือใช้เบิกถอนเงินสด ผู้กระทำ ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง

แนวคำตอบ

  • ข้อหา : ภาระจำยอม, ทางจำเป็น, ละเมิด, เรียกค่าเสียหาย
  • คู่ความ : นายหนึ่ง มกรา โจทก์ , นายอังคาร กุมภา จำเลยที่ 1, นายพุธ มีนา จำเลยที่ 2
  • ค่าเสียหาย :
    A1. ให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนทางจำเป็นหรือภาระจำยอม หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1
    A2. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันออกค่าใช้จ่าย หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตาม ให้โจทก์ดำเนินการรื้อถอนแทน โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันออกค่าใช้จ่าย
    A3. จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ทำละเมิดโจทก์ในกิจการที่ได้รับมอบหมาย จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายจากการทำละเมิดวันละ 10,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 คิดถึงวันฟ้อง (10 กุมภาพันธ์ 2555) เป็นเวลา 10 วัน คิดเป็นเงิน 100,000 บาท
    A4. จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ร่วมกันหรือแทนกันชดใช้คิดค่าเสียหายแก่โจทก์วันละ 10,000 บาทนับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเสร็จสิ้น
    B. ดอกเบี้ยก่อนฟ้อง : คำสั่งระบุว่าไม่ต้องคิดดอกเบี้ย จึงไม่ต้องคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องในส่วนของค่าเสียหายรายวัน (A3)
    C. คดีนี้มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ 2 ประเภทคือคำขอที่คำนวณเป็นจำนวนเงินไม่ได้และคำนวณเป็นจำนวนเงินได้จึงให้ถือตามคำขอหลักคือให้จดทะเบียนภาระจำยอมและให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นคำขอที่คำนวณเป็นจำนวนเงินไม่ได้ คดีนี้จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
    D. คำสั่งระบุว่าไม่ต้องคิดดอกเบี้ย จึงไม่ต้องคิดดอกเบี้ยหลังฟ้องในส่วนของค่าเสียหายรายวันทั้งก่อนฟ้อง(A3) และ หลังฟ้อง(A4)

********************************

ติวสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ภาคทฤษฎี? ภาคปฏิบัติ และ ผู้ฝึกงาน 1 ปี (ตั๋วปี) กับ อ.เป้ สิททิกรณ์? โทร.086-987-5678? หรือดูรายละเอียดที่ www.SmartLawTutor.com

อ่านต่อ

ข้อสอบตั๋วทนาย ภาคทฤษฎี รุ่น 38

ข้อเท็จจริง

วันที่ 14 กันยายน 2553 นายหนึ่ง มกราได้มาพบนายชอบ ยุติธรรมที่สำนักงาน เล่าให้ฟังว่า วันที่ 31 มีนาคม 2553 เวลา 16.30 น. ได้ไปพบนายสอง กุมภา เพื่อขอซื้อที่ดิน โฉนดที่ดินเลขที่ 11 ตำบลลาดยาว อำเภอจตุจักร กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 22 ตารางวา ด้านข้างมีอาคารพาณิชย์ซึ่งนายสอง กุมภา บอกว่าเป็นของนายโท กุมภา? นายหนึ่ง มกรา จึงขอซื้อในราคา8ล้านบาท เพราะเห็นว่าเป็นที่ทำเลดี นายสอง กุมภา กับนายโท กุมภา บอกว่า ที่ดิน 4 ไร่ข้างๆต่อไปนายโท กุมภาจะร่วมทุนกับชาวต่างชาติสร้างอาคาร ในเดือนสิงหาคม 2553 ถ้าสร้างเสร็จจะมีราคาถึง 15 ล้านบาท ถ้าจะขาย จะขายในราคา 10 ล้านบาท

วันที่ 1 เมษายน 2553 นายหนึ่งชำระราคาแก่นายสอง กุมภา โดยชำระราคาและจดทะเบียนซื้อขาย ณ สำนักงานที่ดินลาดพร้าว ต่อมา เดือนตุลาคม 2553 นายหนึ่ง มกราได้สอบถามคนข้างเคียงที่ดิน พบว่าที่ดินของนายโท กุมภา จำนวน 4 ไร่เศษ ถูกเจ้าพนักงานยึดออกขายทอดตลาดตั้งแต่ปี 52 แล้ว

วันที่ 14 กันยายน 2553 นายหนึ่งได้มอบให้ท่านทำหนังสือร้องทุกข์ และในวันเดียวกัน ได้มอบให้ท่านมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามแก่คนทั้งสองเพื่อเรียกร้องตามสิทธิ โดยร้องทุกข์ที่สน.พหลโยธิน วันที่ 15 กันยายน 2553 ท่านจึงมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้บุคคลทั้งสองชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ภายใน 7 วัน

วันที่ 30 กันยายน 2553 ท่านยื่นฟ้องคดีแพ่งพร้อมทำคำแถลงขอส่งหมายทางไปรษณีย์

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 ท่านมาตรวจสำเนาพบว่า นายสอง กุมภา และนายโท กุมภา ได้รับหมายฯตั้งแต่ 10 ตุลาคม 2553 แต่นายโท กุมภาเพิกเฉยไม่ยื่นคำให้การท่านจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีจำเลยโดยขาดนัดยื่นคำให้การ

ศาลนัดอ่านคำพิพากษาโดยให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามฟ้องพร้อมกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 20,000 แต่ไม่มีใครมาฟังคำพิพากษา ศาลให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 30 วันแต่จำเลยเพิกเฉย ท่านจึงยื่นคำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี

คำสั่ง

  • คำฟ้องแพ่ง 34 คะแนน
  • คำร้องทุกข์ 12 คะแนน
  • คำร้องขาดนัดขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ 7 คะแนน
  • หนังสือบอกกล่าว 10 คะแนน
  • คำแถลงส่งหมายทางไปรษณีย์ 5 คะแนน
  • คำขอออกหมายบังคับคดี 12 คะแนน

แนวคำตอบ

  • ข้อหา : กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ, เรียกค่าสินไหมทดแทน

ป.พ.พ. มาตรา 161 ถ้ากลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกำหนด อันหนักยิ่งกว่าที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปกติ คู่กรณีฝ่ายนั้นจะบอกล้างการนั้นหาได้ไม่ แต่ ชอบที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลนั้นได้

ฎ.5246/2543 จำเลยให้คำรับรองว่าที่ดินพิพาทที่จะขายให้แก่โจทก์ติดกับทางสาธารณะ แต่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทไม่ติดทางสาธารณะตามที่จำเลยให้คำรับรอง เมื่อโจทก์มีเจตนาซื้อที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ และได้ซื้อ ที่ดินพิพาทจากจำเลยในราคาที่แพงกว่าปกติของที่ดินในบริเวณเดียวกับที่ไม่ติดทางสาธารณะ ถือว่าจำเลยขายที่ดินแก่โจทก์โดยทำกลฉ้อฉล เป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระราคาสูงขึ้นกว่าราคาซื้อขายปกติ แต่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเพราะติดกับที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ด้วย จึงเป็นกลฉ้อฉลแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่าที่เขาจะยอมรับโดยปกติ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 (เทียบเคียง)

  • คู่ความ
    – โจทก์ >? นายหนึ่ง มกรา
    – จำเลย > นายสอง กุมภา กับ นายโท กุมภา
  • ค่าเสียหาย
    – ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน? 2,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยก่อนฟ้องอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 คิดถึงวันฟ้องเป็นเวลา 6 เดือนคิดเป็นเงิน 75,000 บาท? รวมเป็นทุนทรัพย์ 2,075,000 บาท และขอคิดดอกเบี้ยหลังฟ้องอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 2,000,000 บาท นับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป
    หมายเหตุ : ตามข้อเท็จจริงเป็นกรณีกลฉ้อฉลเพื่อเหตุ ตามป.พ.พ. มาตรา 161 สัญญาซื้อขายจึงไม่เป็นโมฆียะ บอกล้างไม่ได้ จึงไม่มีคำขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขาย


ข้อสังเกตโดย อ.เป้

> แนวการออกข้อสอบเน้นหลักกฎหมาย การหาวันคิดดอกเบี้ย และการคำนวณทุนทรัพย์ ในการสอบครั้งต่อไปนักเรียนต้องศึกษาหลักการเขียนทบทวนหลักกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้แม่นยำก่อนเข้าสอบด้วยนะครับ
> คอร์สติวของผมจึงต้องเพิ่มวันติวหลักกฎหมายโดยเฉพาะอีก?1 วัน?รอฟังผลสอบ 19 เม.ย.55 ขอให้ทุกคนสอบผ่านครับ

สมัครติวสอบใบอนุญาตทนายความ ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และผู้ฝึกงาน 1 ปี กับ อ.เป้ สิททิกรณ์

โทร.086-987-5678 หรือดูรายละเอียดที่ www.SmartLawTutor.com

***********************************

อ่านต่อ